12 มิถุนายน 2553

“หลุมยุบ” ในกัวเตมาลา

3 ข้อสันนิษฐานเหตุ “หลุมยุบ” ในกัวเตมาลา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์3 มิถุนายน 2553 09:53 น.

หลุมยุบในกัวเตมาลาซึ่ง เกิดตรงกลางสี่แยกพอดี นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบกลไกที่ชัดเจนในการเกิด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดชั้นหินปูน (ภาพประกอบทั้งหมดจากเอเอฟพี)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ ขึ้น




หลาย คนที่เห็นภาพ “หลุมยุบ” กลางสี่แยกในกัวเตมาลา อาจไม่เชื่อสายตาตัวเอง และสงสัยว่าเป็นภาพตัดต่อหรือไม่ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงและเคยเกิดขึ้นมาแล ้วเมื่อ 3 ปีก่อน โดยนักธรณีวิทยารั้วจามจุรีเผย 3 ข้อสันนิษฐานของปรากฏการณ์ แต่ให้น้ำหนักกรณีหลุมยุบ เนื่องจากชั้นใต้ดินเป็นหินปูนมากที่สุด

หลุมยุบที่เกิดขึ้นในกัวเตมาลาหลังพายุโซนร้อนอากาธา (Agatha) มีความกว้างถึง 18 เมตรและลึกประมาณ 30 เมตร ซึ่งเนชันนัลจีโอกราฟิกรายงานความเห็นของ เจมส์ เคอร์เรนส์ (James Currens) นักอุทกธรณีวิทยา จากมหาวิทยาลัยเคนตัคกี (University of Kentucky) สหรัฐฯ ว่า ยังไม่ทราบกลไกที่เป็นสาเหตุของการยุบตัวครั้งนี้ และเมื่อปี 2007 เคยเกิดเหตุแผ่นดินยุบตัวในบริเวณใกล้เคียงกัน

สำหรับเหตุการณ์ล่าสุดนี้ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ผู้จัดการออนไลน์ได้สอบถามไปยัง ผศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งข้อสันนิษฐานถึงการยุบตัวของแผ่นดินไว้ 3 กรณี ซึ่งมีกรณีฝนตกหนัก เนื่องจากพายุเป็นตัวกระตุ้นให้ดินยุบตัว โดยพายุครั้งนี้มีปริมาณน้ำฝนมาถึง 300 มิลลิลิตรต่อ 30 ชั่วโมง ขณะที่ปริมาณฝนปกติอยู่ที่ 100 มิลลิลิตรเท่านั้น

กรณีแรก อาจเกิดเนื่องจากชั้นหินปูนใต้ดินถูกน้ำเซาะ จนเกิดโพรงและดินด้านบนอุ้มน้ำปริมาณมากจนยุบตัวลง ซึ่งกรณีเช่นนี้พบได้ในหลายจังหวัดของไทย เช่น จ.กาญจนบุรี ที่มีภูเขาหินจำนวนมาก และมีถ้ำน้ำลอดซึ่งเกิดการหินปูนถูกน้ำเซาะ วันดีคืนดีฝนละลายหินปูนจนทำให้ชั้นดินที่ปกคลุมชั้น หินปูนถล่มลงไป หรือ จ.พัทลุงและสตูล ที่เกิดแผ่นดินยุบตัวหลังฝนตกหนัก

กรณี ที่สอง เกิดจากชั้นดินอ่อนหรือชั้นดินใหม่ มีชั้นทราย เมื่อฝนตกจึงเกิดการกระจุกตัวของน้ำฝนที่ซึมสู่ใต้ดิ นอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินยุบตัว ซึ่งกรณีนี้เคยเกิดที่เมืองไทยบริเวณ ถ.สุขุมวิทของพัทยา เนื่องจากมีชั้นดินเป็นชั้นทราย และกรณีสุดท้ายคือ ชั้นใต้ดินมีชั้นเกลือ เมื่อชั้นเกลือละลายจะเกิดหลุมยุบ พบกรณีนี้แถวภาคอีสานของไทย เช่น จ.นครราชสีมา เป็นต้น

จากการสันนิษฐานเบื้องต้น ผศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า กรณีดินยุบตัวที่กัวเตมาลาน่าจะเป็น 2 กรณีมากกว่า และไม่น่าจะเกิดจากชั้นเกลือใต้ดินถูกละลาย โดยดูจากสภาพธรณีคร่าวๆ และบริเวณที่เกิดยังมีภูเขาไฟระเบิดเยอะ บริเวณดังกล่าวจึงไม่น่าจะมีหินเกลือ (Rock salt) ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดพร้อมๆ กับหินทราย (Sand stone) ในยุคมีโซโซอิค (Mesozoic) แต่จะพบในจีน สหรัฐฯ หรือ จ.นครราชสีมาของไทยมากกว่า

อย่างไรก็ดี นักธรณีวิทยาของไทยให้น้ำหนักการเกิดดินยุบตัวครั้งน ี้กับข้อสันนิษฐานว่า เกิดจากชั้นหินปูนถูกละลายมากกว่า อีกทั้งบริเวณดังกล่าวยังเคยเกิดหลุมยุบมาแล้ว และจากการพิจารณาภาพหลุมยุบผ่านสื่อพบว่ามีชั้นดินปิ ดทับอยู่ประมาณ 10 เมตร และชั้นหินไม่เก่ามากซึ่งกำลังตรวจสอบว่าเป็นชั้นหิน ปูนหรือไม่ พร้อมๆ กับการค้นหาแผ่นที่ทางธรณีวิทยาซึ่งจะบอกได้ชัดเจนขึ ้นว่าเกิดการยุบตัวจาก ชั้นหินปูนหรือไม่ แต่การตรวจสอบที่ชัดเจนจริงๆ ต้องลงไปสำรวจยังพื้นที่เกิดเหตุ

สำหรับหลุมยุบที่เกิดขึ้นนี้ ผศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า มีโอกาสขยายวงยุบตัวเพิ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากธารน้ำใต้ดิน และการที่ฝนตกหนักจะยิ่งเสริมให้ดินยุบตัวได้มากขึ้น เนื่องจากชั้นดินอุ้มน้ำมากทำให้น้ำหนักเพิ่มและถล่ม ลง โดยส่วนใหญ่น้ำมักเป็นตัวเร่งให้เกิดหลุมยุบ และหลุมยุบทุกกรณีเกิดจากฝนตกหนัก ยกเว้นหลุมยุบจากการพุ่งชนของอุกกาบาตซึ่งเป็นหลุมยุ บอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ มีน้ำมาเกี่ยวข้อง ในกรณีของอุกกาบาตนั้นทำให้เกิดหลุมยุบที่สหรัฐฯ กว้างถึง 2 ตารางกิโลเมตร

ทั้งนี้ 80-90% ของหลุมยุบมักเกิดจากชั้นหินปูน โดยลักษณะของหลุมยุบมักเป็นวงกลมแต่ไม่แน่นอนเสมอไป และ ผศ.ดร.ธนวัฒน์ ระบุด้วยว่า การ สร้างสิ่งก่อสร้างใดๆ ควรต้องตรวจสอบด้วยว่า ตั้งอยู่บนพื้นดินที่มีชั้นหินปูนอยู่หรือไม่ ซึ่งเมืองไทยมีแผ่นที่ธรณีวิทยาที่ระบุว่าบริเวณใดบ้ างมีชั้นหินปูน สำหรับการตรวจสอบชั้นหินปูนนั้นทำได้ด้วยเทคนิคทางธร ณีฟิสิกส์ ด้วยการยิงกระแสไฟฟ้าลงดิน หากกระแสไฟฟ้าผ่านไม่ได้แสดงว่าชั้นใต้ดินมีโพลงอยู่


- พายุ "อกาธา"ถล่มอเมริกากลาง สังเวยแล้ว 132 ศพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น