27 ตุลาคม 2553

อาการเสียของเมนบอร์ด

เปิดไม่ติดมีหลายสาเหตุ เปิดไม่ติด เกิดจาก ไม่มีไฟ 5v (สายซัพพลายสีม่วง) ไม่มีไฟ 5v PowerON (สายซัพพลายสีเขียว) ลองตรวจสอบง่ายๆ ดังนี้

1. ลองเปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายใหม่ ดูว่าไฟมาหรือเปล่า ถ้ามาก็ใช้ได้ ถ้าไม่มาแสดงว่าต้องมีอุปกรณ์ใดๆ ในบอร์ด Shot
แต่ถ้า ไม่มีไฟ 5v(สายซัพพลายสีม่วง) มาปกติ แต่ไม่มีไฟ 5v PowerON(สายซัพพลายสีเขียว) มาแสดงว่า
ต้องลองเช็คเฟต ที่ เป็น ไฟ CPU บริเวณ ข้าง Socket CPU ดูน่าจะมี ตัว Shot อยู่ บางตัว

2. แต่ถ้า ไม่มี ไฟไรช๊อตเลย ลองเปลี่ยน Crystal 32.768 KHz ดูก่อนเลย อาจจะเปิดติด ได้
ถ้ามี Scope ก็ลองวัดสัญญาณ ดูว่า มีสัญญาณ Clock มา ครบ 32.768 KHz หรือเปล่าแล้วอีกอย่าง
ที่เป็นเทคนิคพิเศษ ลองเช็ค I/O ว่า ร้อนเกินปกติ มือ จับได้หรือเปล่า ถ้าร้อนเปลี่ยนได้เลย ถ้าไม่ร้อน
ต้องเช็ค ตาม Manual ดูว่า I/O ปกติหรือเปล่า ลองเช็คที่ขา I/O ตรง 5v ดูถ้า Shot ก็เปลี่ยนได้เลย
ถ้าลองเปลี่ยนทุกอย่าแล้ว ไม่หาย ลองจับ South Brige ดูว่าร้อนหรือเปล่า ถ้าร้อน
ก็ต้องเปลี่ยน South Brige แต่ถ้าไม่ร้อน ลองเช็ค ที่ Panal PowerOn ตรงที่เราทริกเปิด
เครื่อง นั่นแหละว่ามีไฟ 5v หรือบางรุ่นบอร์ด จะมี 3.3v ถ้าไฟมา ไม่ถึง หรือมาแค่ 1v กว่าๆ
ลองเช็ค ไฟ Regulator จาก 5v เป็น 3.3v ถ้าเปลี่ยน Regulartor แล้วไม่หาย แสดงว่า South Brige
เสียแน่นอน หรือไม่ก็เปลี่ยน Regulator จาก 5v เป็น 3.3v แล้ว South Brige
ร้อนขึ้นมาเลย ก็แสดงว่า South Brige เสียได้เหมือนกัน

3. อาการดีบัคขึ้น 00 หรือ FF คืออาการไม่บู๊ต บางรุ่นขึ้น D0 อาการดีบักขึ้น 00 หรือ FF
แล้วไม่วิ่งไปใหนเลย มีได้หลายสาเหตุ ได้แก่ คือไบออสเสีย หรือไฟล์ในไบอสเสียหาย ก็สามารถ
แฟลชไบออส ได้จากเครื่องแฟต หรือไม่ก็งัดไบออส จาก บอร์ดรุ่นเดียวกัน มาลองเปลี่ยนดู ถ้าติดปกติ
ก็ ต้องแฟลชไบออสใหม่ การแฟตไบออสมีหลายวิธี แล้วก็มีสอนหลายเว็บไซต์ หรือร้านบางแห่งใช้เครื่องแฟต
คือ ถอดไบออสมาแฟต กับเครื่องแล้ว ใส่กลับเข้าไปใหม่ได้เลย ไม่ต้องกลัวว่าจะแฟตผิด แฟตซ้ำได้ตลอด

4. I/O เสีย เป็นสาเหตุหนึ่ง ในการ ทำให้ ดีบึคขึ้น 00 หรือ FF ส่วนมาก I/O มีหลาย รุ่น
แต่ส่วนมากมี 2 ยี่ห้อคือ WinBond กับ ITE ส่วนมาก I/O เสีย หาได้ง่ายๆเพราะ จะร้อนมาก่อนเลย
แต่ถ้าไม่บูต ต้องเช็คที่ขา ดาต้า ว่าดาต้าเข้า แล้วดาต้าไม่ออก แต่ Clock ไฟต่างๆ 5v 3.3v 12v
เข้าปกติ ก็แสดงว่า I/O เสียได้เหมือนกัน แต่ที่ร้าน B.B.Com มีการ์ด Test ว่า I/O เสียหรือเปล่า ได้เลย

โดยไม่ต้องวัดให้เสียเวลา โดยการเสียบการ์ด แทน I/O โดยมีไบออส อยู่ในการ์ดเรียบร้อย
ถ้าทุกอย่างปกติ แต่ต้องใส่ไบออส ที่ตรงรุ่นกับ บอร์ดนั้นๆ ไว้ในการ์ด I/O จะสามาถบู๊ตเข้าวินโดวส์ได้เลย
โดยการตัดการทำงานของไบออสในบอร์ดออก แล้วไปทำงานที่ ไบออสในการ์ด แทน แต่ถ้าเปลี่ยน I/O
ที่ บอร์ด ก็จะทำงานได้ปกติ

5. อาการบอร์ดดีบักขึ้น D0 ส่วนมาก สาเหตุเป็นเพราะ ระบบ Data หรือ Address ของ North Bridge
กับ Socket CPU ขาดหรือไม่ต่อกัน อาการแก้ง่ายๆ โดยการ เปลี่ยน Socket CPU ใหม่ หรือลองขยับ
ดูว่า ล๊อก CPU กับไม่ล๊อก CPU จะทำให้บอร์ดติดหรือเปล่า ถ้า ไม่ล๊อกแล้วติด ก็แสดงว่า Socket CPU
เสียหรือเปล่าหรือ ถ้ากด North Bridge แล้วทำงานได้ ก็แสดว่า North Bridge หลวม
ต้องเปลี่ยนหรือ ไม่ก็ Re Built North Bridge ใหม่ เผื่อ บอล ตะกั่วใน North Bridge ไม่เชื่อประสานกัน
บางจังหวะ หรือไม่ก็ สัญญาณไฟ CPU ไม่เรียบพอ ก็ต้องลองเปลี่ยน Regulartor
โดยต้องมีมิเตอร์วัด Ripple ว่า ได้มาตรฐานหรือเปล่า ก่อนจะเปลี่ยน Regulartor CPU

6. อาการระบบ Ram เสีย ง่ายๆมีหลายสาเหตุ เช่น ดีบัคขึ้น C0-C5 D3-D7 E0-ED
หรือไม่ก็ 90 แล้วดับ เปิดอีกที ติดแต่ค้างที่ AD แยกไว้ตามประเภทกว้างๆ ไว้ดังนี้

อาการ C0-C5 ส่วนมากเป็นได้ที่ Clock ของระบบแรมไม่มา หรือมาน้อย ไม่สามารถทำงานได้
ถ้า เป็น DDR ต้องดูที่ขา 7-8 นับมาจาก ด้านบน ทางด้านร่องกว้าง จะมี Clock ตั้งแต่ 100-133-166-200
แต่แรมมันเอามาคูณ 2 อีกที หรือไม่ก็ Capacitor บวม บริเวณแรม ทำให้ Clock มา แต่ไม่เรียบ
หรือเป็นลูกไม่สวย ทำให้แรมรับไม่ได้ ถ้ามี Scope ก็สามารถดูลูก คลื่นได้ โดยตรง ถ้าไม่มีก็
ต้อง เปลี่ยน Clock Buffer ดู ก็จะหาย

อาการ D3-D7 ส่วนมาก มาจาก ไฟ เลี้ยงแรม มาไม่พอ หรือมาน้อย หรือมี Ripple มามากเกินไป
ต้อง ดูหรือวัดที่ Regulartor ที่เป็นแฟต ส่วนมากจะมี เบอร์ 9916H B1202 3055LD 45N02 A2039
และอีกหลายเบอร์ แต่ถ้ามีรอยใหม้เปลี่ยนได้เลย เสียแน่ๆ แต่ถ้าไม่มีรอยใหม้ ต้องเช็ค ว่า Shot หรือเปล่า
หรือ ลองวัดดู ต้องมีไฟ เข้า 3.3v แล้วไฟทริกต้องมีประมาณ 3.5-4.5v ถ้าไม่มีไฟทริกต้องมองหา ออฟแอม
ว่ามีรอยใหม้หรือเปล่าถ้าทุกอย่างมาครบ แต่ไฟไม่ออก 2.5-2.8V ก็เปลี่ยน แฟตแรมได้เลย

อาการ E0-ED ลองขัด Slot แรมดู โดยใช้ น้ำยาพิเศษ แห้งเร็ว ทำให้ Slot Ram สะอาด ทำให้บู๊ตได้ปกติ
ถ้า ไม่ได้จริง ๆต้องเปลี่ยน North Bridge เพราะ สายData หรือ Address ของ Ram ต่ออยู่กับ North Bridg
หรือไม่ก็ Re Built North Bridge เผื่อบอลตะกั่วไม่ต่อกันจริงๆ ระหว่างบอร์ดกับ North Bridge

อาการดีบัก ค้างที่ 2A ส่วนมากจะเป็นอาการของบอร์ด ไม่แสดงผลภาพ หรือ การ์ดจอไม่ทำงาน ให้ลองหา
ทรานซิสเตอร์ เล็กๆ ข้าง Slot AGP/PCI-E จะมีอยู่ 2 ตัวไว้ Detect ว่ามี VGA เสียบอยู่หรือเปล่า ถ้าตัวนี้เสียหรือ
ปริ้นร่อนก็ไม่สามารถมองเห็น การ์ดจอ VGA ที่เสียบอยู่กับบอร์ดได้ หรือไม่ก็ Slot AGP/PCI-E บนบอร์ดเสีย
หรือเข็ม ใน Slot AGP/PCI-E หักหรืองอ ก็ต้องเปลี่ยน Slot AGP/PCI-E ก็จะหายเป็นปกติ

การแจ้งข้อผิดพลาดของความ หมาย Code ต่างๆ ท่านสามารถดูได้ที่ www.bioscentral.com
ตัวอย่าง Code ที่แสดงออกมาและความหมายของ Code อาการที่เห็นทั่วๆไปของ บอร์ดที่ซ่อมประจำ

CODE

ความหมาย

C0-C7

ลองแฟลชไบออสดู ไม่ก็ แล้วลองตรวจสอบระบบอีกครั้ง บางครั้งแรมอาจติดต่อกับ N/B ไม่ได้

D0

ลองตรวจสอบไฟ CPU ว่าปกติหรือเปล่า หรือไม่ก็ซ็อกเก็ต CPU ว่าต่อกับ CPU จริงหรือเปล่า

D1-D7

ลองตรวจเช็คแรม ไม่ก็ ไฟแรม สล็อตเสียบแรมแน่นหรือไม่

90-AD

สลับกัน แล้ว 90 จะดับ แต่จะค้างที่ AD แสดงว่า Data ของแรมไม่สามารถติดต่อกับ N/B ได้ แนะลองใช้แปรงทาสีทำขาความสะอาด
ทีช่องสัญญาณของสล็อกตแรมดู ถ้ายังไม่หายก็แสดงว่า Address บางขาของ Ram เกิดการซ็อต ต้องเปลี่ยน N/B

2A

ส่วนมากเป็นที่สล็อต AGP/PCI-E เสียไม่ก็ หรือตัวทรานซิสเตอร์ข้างๆ AGP/PCI-E เสีย แนะนำเปลี่ยนทรานซิสเตอร์ก็น่าจะหาย

75-85

เข้าไบออสไปแล้วตั้งค่าเป็น Set Default ที่มาจากโรงงาน

00 หรือ FF

ถ้าปรากฏเลขฐานสิบหกตัวนี้ถือว่าเมน บอร์ดปกติ

การ เข้าหัวแลน สาย UTP คืออะไร เข้าหัว RJ45 ต้องเรียงสีอย่างไร

เดี๋ยวนี้ คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ใครมีลูกหลานก็คงจะเห็นชัดว่าเขาเหล่านั้นมักจะมีความสนใจในการแก้ไขปัญหา ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งที่การเริ่มต้นอาจจะมาจากการเล่นเกมส์ก็ตาม เมื่อเขามีความสนใจก็คงต้องส่งเสริมกันล่ะครับ

ต่อมาวิวัฒนาการมากขึ้น การเชื่อมต่อกับโลกภายนอกก็ตามมาถึงในบ้าน ครั้นจะซื้อทุกอย่าง พ่อแม่ก็คงเห็นว่าไม่ค่อยจะมีพัฒนาการในการแก้ไขปัญหา ก็เลยมาถามว่าทำไงให้เด็ก ๆ เหล่านั้นมีความสนใจเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง คำตอบจากพ่อแม่เด็กครับ "ไม่รู้เหมือนกัน" ...วันนี้ก็เลยเอาเรื่องสายเน็ตเวิร์ก หรืออาจจะได้ยินคนเรียกว่าสาย UTP (Unshielded Twisted Pair) มาเล่าสู่กันฟังครับ

ปัจจุบัน สายเน็ตเวอร์กที่นิยมใช้เดินในอาคาร ก็คือสาย UTP หรืออาจจะเรียกว่า 10BaseT หรืออาจได้ยินว่าสาย CAT5 ซึ่งสาย CAT5 จะสามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้ถึง 100 เมกกะบิตต่อวินาที (100 megabit per second)

สาย CAT5 จะเป็นสายที่มีตีเกลียวกัน 4 คู่ (รวมแล้วมีทั้งหมด 8 เส้น) เราถึงได้เรียกว่า Unshielded Twisted Pair (UTP)

รหัสสีของสาย CAT5 ทั้ง 4 คู่ จะใช้ตามค่ามาตรฐานของ Electronic Industry Association/Telecommunications Industry Association's Standard 568B ดังตาราง

สายคู่ที่ 1
ขาว/น้ำเงิน
น้ำเงิน

สายคู่ที่ 2

บาว/ส้ม
ส้ม
สายคู่ที่ 3

ขาว/เขียว
เขียว

สายคู่ที่ 4
ขาว/น้ำตาล
น้ำตาล

หัวต่อ (Connectors)

หัวต่อสาย CAT5 UTP เราจะเรียกกันติดปากว่า หัว RJ45 (RJ ย่อมาจาก Registered Jack)

ในมาตรฐานของ IEEE กำหนดให้ Ethernet 10BaseT ต้องมีสายตีเกลียวเป็นคู่ ๆ และคู่ที่หนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับขา 1 และ 2 , และ คู่ที่สองจะต่อเข้ากับขา 3 และ 6 ส่วนขา 4 และ 5 จะข้ามไม่ใช้งาน

การ เชื่อมต่อสายตามมาตรฐาน EIA/TIA-568B RJ-45 :

ในการใช้งานจะใช้แค่ 2 คู่ในการรับส่งข้อมูลตามมาตรฐาน 10BaseT โดยใช้คู่ที่ 2 (ขาว/สัม , ส้ม) และคู่ที่ 3 (ขาว/เขียว , เขียว)

คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา 1 ใช้สี ขาว/ส้ม
ขา2 ใช้สี ส้ม
คู่ที่3ต่อเข้ากับขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สี ขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สี ส้ม

ส่วน สองคู่ที่เหลือให้ต่อดังนี้ครับ

คู่ที่ 1
ขา4 ใช้สี น้ำเงิน
ขา5 ใช้สี ขาว/น้ำเงิน
คู่ที่ 4
ขา7 ใช้สี ขาว/น้ำตาล
ขา8 ใช้สี น้ำตาล

การ เรียงสีให้ดูตามรูปก็ได้ครับ

เมื่อ จัดสีให้ตรงตามแบบแล้วก็ทำการตัดให้ปลายเท่ากันแล้วใส่สายเข้าไปในหัว RJ45

โดย ให้ปลายของสายแต่ละเส้นไปชนกับด้านบนสุดของหัว RJ45 เมื่อชนสุดแล้วใช้คีมสำหรับเข้าหัว RJ45 บีบให้แน่น จากนั้นให้ทำเหมือนกันทั้งสองด้าน


สายไข้ว (Crossover Cables)

ในการ เข้าสายแบบพิเศษ หรือที่เรียกกันว่า สายไขว้ (Crossover Cable) จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งของปลายสายด้านหนึ่งของสายเคเบิล ซึ่งจะสลับกันจาก ขา 1&2 ไปเป็นขา 3&6 และจากขา 3&6 ไปเป็นขา 1&2 ส่วนขา 4&5 และ 7&8 ไม่เปลี่ยนแปลง

เพื่อให้เข้าใจจะมีการต่อสายทั้งสองด้านดังนี้ครับ:
ปลายด้านปกติ (Standard)ปลายด้านไขว้ (Crossover)
ขา 1 ขาว/ส้ม ขา 1 ขาว/เขียว
ขา 2 ส้มขา 2 เขียว
ขา 3 ขาว/เขียวขา 3 ขาว/ส้ม
ขา 4 น้ำเงิน ขา 4 น้ำเงิน
ขา 5 ขาว/น้ำเงิน ขา 5 ขาว/น้ำเงิน
ขา 6 เขียวขา 6 ส้ม
ขา 7 ขาว/น้ำตาลขา 7 ขาว/น้ำตาล
ขา 8 น้ำตาล ขา 8 น้ำตาล

ข้อมูลในตารางจะใช้สำหรับปลายด้านที่เป็นสาย ไขว้ (Crossover End)
คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา1 ใช้สี ขาว/เขียว
ขา2 ใช้สี เขียว
คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สี ขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สี ส้ม

ภาพที่แสดงจะเป็นการเรียงสีของสายที่จะทำเป็นปลาย สายไขว้

เมื่อ สอดปลายของสายแต่ละเส้นไปชนกับด้านบนสุดของหัว RJ45 จากนั้นก็ใช้คีมสำหรับเข้าหัว RJ45 บีบให้แน่น

ข้อมูล อ้างอิง : http://www.netspec.com/helpdesk/wiredoc.html

http://bigtui.exteen.com/category/Network-Tips-and-Trick

Blue Screen of Death !!

Blue Screen of Death !! คำว่า Blue Screen คนเล่นคอม จะรู้จักดีและเป็นสิ่งที่ทุกคนกลัวไม่อยากให้เกิดกับเครื่องของตน เพราะถ้าเกิดนั้นเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าคอมของตนเริ่มมีปัญหา แต่ที่น่าเจ็บใจคือมันบอกเป็นเลขรหัสที่เราๆ ท่านๆ ต้องงงเพราะไม่รู้ว่ามันหมายความว่าอะไร และจะมีทางแก้ไขอย่างไร ผมไปอ่านเจอมาว่าแต่ละตัวมีความหมายอย่างไร ก็ลองแปลมาให้คุณๆ ได้อ่าน คิดว่าน่าจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้บ้าง รหัสที่แจ้งของ Blue Screen จริงๆมีเกินร้อยตัว
  • 1.(stop code 0X000000BE) Attempted Write To Readonly Memory สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดจากการ ลง driver หรือ โปรแกรม หรือ service ที่ผิดพลาด เช่น ไฟล์บางไฟล์เสีย ไดร์เวอร์คนละรุ่นกัน ทางแก้ไขให้ uninstall โปรแกรมตัวที่ลงก่อนที่จะเกิดปัญหานี้ ถ้าเป็นไดร์เวอร์ก็ให้ทำการ roll back ไดร์เวอร์ตัวเก่ามาใช้ หรือ หาไดร์เวอร์ที่ล่าสุดมาลง (กรณีที่มีใหม่กว่า) ถ้าเป็นพวก service ต่างๆที่เราเปิดก่อนเกิดปัญหาก็ให้ทำการปิด หรือ disable ซะ
  • 2.(stop code 0X000000C2) Bad Pool Caller สาเหตุและแนวทางแก้ไข: ตัวนี้จะ คล้ายกับตัวข้างบน แต่เน้นที่พวก hardware คือเกิดจากอัฟเกรดเครื่องพวก Hardware ต่าง เช่น ram ,harddisk การ์ดต่างๆ ไม่ compatible กับ XP ทางแก้ไขก็ให้เอาอุปกรณ์ที่อัฟเกรดออก ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ให้ลงไดร์เวอร์ หรือ อัฟเดท firmware ของอุปกรณ์นั้นใหม่ และคำเตือนสำหรับการจะอัฟเดท ให้ปิด anti-virus ด้วยนะครับ เดียวมันจะยุ่งเพราะพวกโปรแกรม anti-virus มันจะมองว่าเป็นไวรัส
  • 3.(stop code 0X0000002E) Data Bus Error สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดจากการส่งข้อมูลที่เรียก ว่า BUS ของฮาร์ดแวร์เสียหาย ซึ่งได้แก่ ระบบแรม ,cache L2 ของซีพียู , เมมโมรีของการ์ดจอ, ฮาร์ดดิสก์ทำงานหนักถึงขั้น error (ร้อนเกินไป) และเมนบอร์ดเสีย
  • 4.(stop code 0X000000D1)Driver IRQL Not Less Or Equal สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการไดร์เวอร์กับ IRQ(Interrupt Request ) ไม่ตรงกัน การแก้ไขก็เหมือนกับ error ข้อที่ 1
  • 5. (stop code 0X0000009F)Driver Power State Failure สาเหตุและแนวทาง แก้ไข: อาการนี้เกิดจาก ระบบการจัดการด้านพลังงานกับไดรเวอร์ หรือ service ขัดแย้งกัน เมื่อคุณให้คอมทำงานแบบ”hibernate” แนวทางแก้ไข ถ้าวินโดวส์แจ้ง error ไดร์เวอร์หรือ service ตัวไหนก็ให้ uninstall ตัวนั้น หรือจะใช้วิธี Rollback driver หรือ ปิดระบบจัดการพลังงานของวินโดวส์ซะ
  • 6.(stop code 0X000000CE) Driver Unloaded Without Cancelling Pending Operations สาเหตุและแนว ทางแก้ไข: อาการไดร์เวอร์ปิดตัวเองทั้งๆ ทีวินโดวส์ยังไม่ได้สั่ง การแก้ไขให้ทำเหมือนข้อ 1
  • 7.(stop code 0X000000F2)Hardware Interrupt Storm สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการที่เกิดจากอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ เช่น USB หรือ SCSI controller จัดตำแหน่งกับ IRQ ผิดพลาด สาเหตุจากไดร์เวอร์หรือ firmware การแก้ไขเหมือนกับข้อ 1
  • 8.(stop code 0X0000007B)Inaccessible Boot Device สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการ นี้จะมักเจอตอนบูตวินโดวส์ จะมีข้อความบอกว่าไม่สามารถอ่านข้อมูลของไฟล์ระบบหรือ boot partitions ได้ ให้ตรวจฮาร์ดดิสก์ว่าปกติหรือไม่ สายแพหรือสายไฟที่เข้าฮาร์ดดิสก์หลุดหรือไม่ ถ้าปกติดีก็ให้ตรวจไฟล์ boot.ini อาจจะเสีย หรือไม่ก็มีการทำงานแบบmulti OS ให้ตรวจดูว่าที่ไฟล์นี้อาจเขียน config ของ OS ขัดแย้งกัน อีกกรณี หนึ่งที่เกิด error นี้ คือเกิดขณะ upgrade วินโดวส์ สาเหตุจากมีอุปกรณ์บางตัวไม่ compatible ให้ลองเอาอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นหรือคิดว่ามีปัญหาออก เมื่อทำการ upgrade วินโดวส์ เรียบร้อย ค่อยเอาอุปกรณ์ที่มีปัญหาใส่กลับแล้วติดตั้งด้วยไดร์เวอร์รุ่นล่าสุด
  • 9. (stop code 0X0000007A) Kernel Data Inpage Error สาเหตุและแนวทาง แก้ไข: อาการนี้เกิดมีปัญหากับระบบ virtual memory คือวินโดวส์ไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลที่ swapfile ได้ สาเหตุอาจเกิดจากฮาร์ดดิสก์เกิด bad sector, เครื่องติดไวรัส, ระบบ SCSI ผิดพลาด, RAM เสีย หรือ เมนบอร์ดเสีย
  • 10. (stop code 0X00000077) Kernel Stack Inpage Error สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการ และสาเหตุเดียวกับข้อ 9
  • 11.(stop code 0X0000001E) Kmode Exception Not Handled สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดการทำงานที่ ผิดพลาดของไดร์เวอร์ หรือ service กับ หน่วยความจำ และ IRQ ถ้ามีรายชื่อของไฟล์หรือ service แสดงออกมากับ error นี้ให้ทำการ uninstall โปรแกรมหรือทำการ roll back ไดร์เวอร์ตัวนั้น ถ้ามีการแจ้งว่า error ที่ไฟล์ win32k สาเหตุเกิดจาก การ control software ของบริษัทอื่นๆ (Third-party) ที่ไม่ใช้ของวินโดวส์ ซึ่งมักจะเกิดกับพวก Networking และ Wireless เป็นส่วนใหญ่ Error นี้อาจจะเกิดสาเหตุอีกอย่าง นั้นคือการ run โปรแกรมต่างๆ แต่หน่วยความจำไม่เพียงพอ
  • 12.(stop code 0X00000079)Mismatched Hal สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการ นี้เกิดการทำงานผิดพลาดของ Hardware Abstraction Layer (HAL) มาทำความเข้าใจกับเจ้า HAL ก่อน HAL มีหน้าที่เป็นตัวจัดระบบติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟท์แวร์ว่าแอปพลิเคชั่น ตัวไหนวิ่งกับอุปกรณ์ตัวไหนให้ถูกต้อง ยกตัวอย่าง คุณมีซอฟท์แวร์ที่ออกแบบไว้ใช้กับ Dual CPU มาใช้กับเมนบอร์ดที่เป็น Single CPU วินโดว์ก็จะไม่ทำงาน วิธีแก้คือ reinstall วินโดวส์ใหม่ สาเหตุ อีกประการการคือไฟล์ที่ชื่อ NToskrnl.exe หรือ Hal.dll หมดอายุหรือถูกแก้ไข ให้เอา Backup ไฟล์ หรือเอา original ไฟล์ที่คิดว่าไม่เสียหรือเวอร์ชั่นล่าสุดก๊อปปี้ทับไฟล์ที่เสีย
  • 13.(stop code 0X0000003F)No More System PTEs สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการ นี้เกิดจากระบบ Page Table Entries (PTEs) ทำงานโดย Virtual Memory Manager (VMM) ผิดพลาด ทำให้วินโดวส์ทำงานโดยไม่มี PTEs ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวินโดวส์ อาการนี้มักจะเกิดกับการที่คุณทำงานแบบ multi monitors ถ้าคุณเกิดปัญหานี้บ่อยครั้ง คุณสามารถปรับแต่ง PTEs ได้ใหม่ ดังนี้
  • 1. ให้เปิด Registry ขึ้นมาแก้ไข โดยไปที่ Start > Run แล้วพิมพ์คำสั่ง Regedit
  • 2. ไปตามคีย์นี้ HKEY_LOCAL_MACHINESYSTEMCurrentControlSetControlSession ManagerMemory Management
  • 3. ให้ดูที่หน้าต่างขวามือ ดับคลิกที่ PagedPoolSize ให้ใส่ค่าเป็น 0 ที่ Value data และคลิก OK
  • 4. ดับเบิลคลิกที่ SystemPages ถ้าคุณใช้ระบบจอแบบ Multi Monitor ให้ใส่ค่า 36000 ที่ Value data หรือใส่ค่า 40000 ถ้าเครื่องคุณมี RAM 128 MB และค่า 110000 ในกรณีที่เครื่องมี RAM เกินกว่า 128 MB แล้วคลิก OK รีสตาร์ทเครื่อง
  • 14.(stop code 0X00000024) NTFS File System สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการ นี้สาเหตุเกิดจากการรายงานผิดพลาดของ Ntfs.sys คือไดร์เวอร์ของ NTFS อ่านและเขียนข้อมูลผิดพลาด สาเหตูนี้รวมถึง การทำงานผิดพลาดของ controller ของ IDE หรือ SCSI เนื่องจากการทำงานของโปรแกรมสแกนไวรัส หรือ พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เสีย คุณๆสามารถทราบรายละเอียดของerror นี้ได้โดยให้เปิดดูที่ Event Viewer วิธีเปิดก็ให้ไปที่ start > run แล้วพิมพ์คำสั่ง eventvwr.msc เพื่อเปิดดู Log file ของการ error โดยให้ดูการ error ของ SCSI หรือ FASTFAT ในหมวด System หรือ Autochk ในหมวด Application
  • 15.(stop code 0X00000050)Page Fault In Nonpaged Area สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้สาเหตุการจากการผิด พลาดของการเขียนข้อมูลในแรม การแก้ไขก็ให้ทำความสะอาดขาแรมหรือลองสลับแรมดูหรือไม่ก็หาโปรแกรมที่ test แรมมาตรวจว่าแรมเสียหรือไม่
  • 16.(stop code 0Xc0000221)Status Image Checksum Mismatch สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้สาเหตุ มาจาก swapfile เสียหายรวมถึงไดร์เวอร์ด้วย การแก้ไขก็เหมือนข้อ 15
  • 17.(stop code 0X000000EA) Thread Stuck In Device Driver สาเหตุและแนวทาง แก้ไข: อาการของ error นี้คือการทำงานของเครื่องจะทำงานในแบบวนซ้ำๆ กันไม่สิ้นสุด เช่นจะรีสตร์ทตลอด หรือแจ้งerror อะไรก็ได้ขึ้นมาไม่หยุด ปัญหานี้ สาเหตุอาจจะเกิดจาก bug ของโปรแกรมหรือสาเหตุอื่นๆ เป็นร้อย การแก้ไขให้พยายามทำตามนี้
  • 1.ให้ดูที่ power supply ของคุณว่าจ่ายกำลังไฟเพียงพอกับความต้องการของคอมคุณหรือไม่ ให้ดูว่าในเครื่องคุณมีอุปกรณ์มากไปไม่เหมาะกับ power supply ของคุณ ก็ให้เปลื่ยนตัวใหม่ให้กำลังมากขึ้น ปัญหานี้ผมเคยมีประสพการณ์แล้ว 2 ครั้ง คือ
  • 2. ให้คุณดูที่การ์ดจอว่าได้ใช้ไดร์เวอร์ตัวล่าสุด ถ้าแน่ใจว่าใช้ตัวล่าสุดแล้วยังมีอาการ ก็ให้ทำการ Rollback ไดร์เวอร์ตัวก่อนที่จะเกิดปัญหา
  • 3. ตรวจดูการ์ดจอและเมนบอร์ดว่าเสียหรือไม่เช่น มีรอยไหม้, ลายวงจรขาด มีชิ้นสวนบางชิ้นหลุดจากตำแหน่งเดิม เป็นต้น
  • 4. ดูที่ bios ว่าส่วนของ VGA slot เลือกโหมด 4x,8x ถูกตามสเปกของการ์ดหรือไม่
  • 5. เช็คดูที่ผู้ผลิตเมนบอร์ดว่ามีไดร์เวอร์ตัวใหม่หรือไม่ ถ้ามีให้โหลดลงใหม่ซะ 6. ถ้าคุณมีการ์ดแลนหรือเมนบอร์ดของคุณมี on board อยู่ให้ disable ฟังก์ชั่น “PXE Resume/Remote Wake Up” โดยไปปิดที่ BIOS
  • 18. (stop code 0X0000007F) unexpected Kernel Mode Trap สาเหตุ และแนวทางแก้ไข: อาการนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกับนัก overclock (ผมก็คนหนึ่ง) เป็นอาการ RAM ส่งข้อมูลให้ CPU ไม่สัมพันธ์กันคือ CPU วิ่งเร็วเกินไป หรือร้อนเกินไปสาเหตุเกิดจากการ overclock วิธีแก้ก็คือลด clock ลงมาให้เป็นปกติ หรือ หาทางระบายความร้อนจาก CPU ให้มากที่สุด
  • 19. (stop code 0X000000ED)Unmountable Boot Volume สาเหตุและแนวทาง แก้ไข: อาการที่วินโดวส์หาฮาร์ดดิสก์ไม่เจอ (ไม่ใช่ตัวบูตระบบ) ในกรณีที่คุณมีฮาร์ดดิสก์หลายตัว หนึ่งในนั้นคุณอาจใช้สายแพของฮาร์ดดิสก์ผิด เช่น ฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ 33MB/secound ซึ่งต้องใช้สายแพ 40 pin แต่คุณเอาแบบ 80 pin ไปต่อแทน”Thank You” from 1 Member