12 มิถุนายน 2553

“หลุมยุบ” ในกัวเตมาลา

3 ข้อสันนิษฐานเหตุ “หลุมยุบ” ในกัวเตมาลา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์3 มิถุนายน 2553 09:53 น.

หลุมยุบในกัวเตมาลาซึ่ง เกิดตรงกลางสี่แยกพอดี นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบกลไกที่ชัดเจนในการเกิด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดชั้นหินปูน (ภาพประกอบทั้งหมดจากเอเอฟพี)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ ขึ้น




หลาย คนที่เห็นภาพ “หลุมยุบ” กลางสี่แยกในกัวเตมาลา อาจไม่เชื่อสายตาตัวเอง และสงสัยว่าเป็นภาพตัดต่อหรือไม่ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงและเคยเกิดขึ้นมาแล ้วเมื่อ 3 ปีก่อน โดยนักธรณีวิทยารั้วจามจุรีเผย 3 ข้อสันนิษฐานของปรากฏการณ์ แต่ให้น้ำหนักกรณีหลุมยุบ เนื่องจากชั้นใต้ดินเป็นหินปูนมากที่สุด

หลุมยุบที่เกิดขึ้นในกัวเตมาลาหลังพายุโซนร้อนอากาธา (Agatha) มีความกว้างถึง 18 เมตรและลึกประมาณ 30 เมตร ซึ่งเนชันนัลจีโอกราฟิกรายงานความเห็นของ เจมส์ เคอร์เรนส์ (James Currens) นักอุทกธรณีวิทยา จากมหาวิทยาลัยเคนตัคกี (University of Kentucky) สหรัฐฯ ว่า ยังไม่ทราบกลไกที่เป็นสาเหตุของการยุบตัวครั้งนี้ และเมื่อปี 2007 เคยเกิดเหตุแผ่นดินยุบตัวในบริเวณใกล้เคียงกัน

สำหรับเหตุการณ์ล่าสุดนี้ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ผู้จัดการออนไลน์ได้สอบถามไปยัง ผศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งข้อสันนิษฐานถึงการยุบตัวของแผ่นดินไว้ 3 กรณี ซึ่งมีกรณีฝนตกหนัก เนื่องจากพายุเป็นตัวกระตุ้นให้ดินยุบตัว โดยพายุครั้งนี้มีปริมาณน้ำฝนมาถึง 300 มิลลิลิตรต่อ 30 ชั่วโมง ขณะที่ปริมาณฝนปกติอยู่ที่ 100 มิลลิลิตรเท่านั้น

กรณีแรก อาจเกิดเนื่องจากชั้นหินปูนใต้ดินถูกน้ำเซาะ จนเกิดโพรงและดินด้านบนอุ้มน้ำปริมาณมากจนยุบตัวลง ซึ่งกรณีเช่นนี้พบได้ในหลายจังหวัดของไทย เช่น จ.กาญจนบุรี ที่มีภูเขาหินจำนวนมาก และมีถ้ำน้ำลอดซึ่งเกิดการหินปูนถูกน้ำเซาะ วันดีคืนดีฝนละลายหินปูนจนทำให้ชั้นดินที่ปกคลุมชั้น หินปูนถล่มลงไป หรือ จ.พัทลุงและสตูล ที่เกิดแผ่นดินยุบตัวหลังฝนตกหนัก

กรณี ที่สอง เกิดจากชั้นดินอ่อนหรือชั้นดินใหม่ มีชั้นทราย เมื่อฝนตกจึงเกิดการกระจุกตัวของน้ำฝนที่ซึมสู่ใต้ดิ นอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินยุบตัว ซึ่งกรณีนี้เคยเกิดที่เมืองไทยบริเวณ ถ.สุขุมวิทของพัทยา เนื่องจากมีชั้นดินเป็นชั้นทราย และกรณีสุดท้ายคือ ชั้นใต้ดินมีชั้นเกลือ เมื่อชั้นเกลือละลายจะเกิดหลุมยุบ พบกรณีนี้แถวภาคอีสานของไทย เช่น จ.นครราชสีมา เป็นต้น

จากการสันนิษฐานเบื้องต้น ผศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า กรณีดินยุบตัวที่กัวเตมาลาน่าจะเป็น 2 กรณีมากกว่า และไม่น่าจะเกิดจากชั้นเกลือใต้ดินถูกละลาย โดยดูจากสภาพธรณีคร่าวๆ และบริเวณที่เกิดยังมีภูเขาไฟระเบิดเยอะ บริเวณดังกล่าวจึงไม่น่าจะมีหินเกลือ (Rock salt) ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดพร้อมๆ กับหินทราย (Sand stone) ในยุคมีโซโซอิค (Mesozoic) แต่จะพบในจีน สหรัฐฯ หรือ จ.นครราชสีมาของไทยมากกว่า

อย่างไรก็ดี นักธรณีวิทยาของไทยให้น้ำหนักการเกิดดินยุบตัวครั้งน ี้กับข้อสันนิษฐานว่า เกิดจากชั้นหินปูนถูกละลายมากกว่า อีกทั้งบริเวณดังกล่าวยังเคยเกิดหลุมยุบมาแล้ว และจากการพิจารณาภาพหลุมยุบผ่านสื่อพบว่ามีชั้นดินปิ ดทับอยู่ประมาณ 10 เมตร และชั้นหินไม่เก่ามากซึ่งกำลังตรวจสอบว่าเป็นชั้นหิน ปูนหรือไม่ พร้อมๆ กับการค้นหาแผ่นที่ทางธรณีวิทยาซึ่งจะบอกได้ชัดเจนขึ ้นว่าเกิดการยุบตัวจาก ชั้นหินปูนหรือไม่ แต่การตรวจสอบที่ชัดเจนจริงๆ ต้องลงไปสำรวจยังพื้นที่เกิดเหตุ

สำหรับหลุมยุบที่เกิดขึ้นนี้ ผศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า มีโอกาสขยายวงยุบตัวเพิ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากธารน้ำใต้ดิน และการที่ฝนตกหนักจะยิ่งเสริมให้ดินยุบตัวได้มากขึ้น เนื่องจากชั้นดินอุ้มน้ำมากทำให้น้ำหนักเพิ่มและถล่ม ลง โดยส่วนใหญ่น้ำมักเป็นตัวเร่งให้เกิดหลุมยุบ และหลุมยุบทุกกรณีเกิดจากฝนตกหนัก ยกเว้นหลุมยุบจากการพุ่งชนของอุกกาบาตซึ่งเป็นหลุมยุ บอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ มีน้ำมาเกี่ยวข้อง ในกรณีของอุกกาบาตนั้นทำให้เกิดหลุมยุบที่สหรัฐฯ กว้างถึง 2 ตารางกิโลเมตร

ทั้งนี้ 80-90% ของหลุมยุบมักเกิดจากชั้นหินปูน โดยลักษณะของหลุมยุบมักเป็นวงกลมแต่ไม่แน่นอนเสมอไป และ ผศ.ดร.ธนวัฒน์ ระบุด้วยว่า การ สร้างสิ่งก่อสร้างใดๆ ควรต้องตรวจสอบด้วยว่า ตั้งอยู่บนพื้นดินที่มีชั้นหินปูนอยู่หรือไม่ ซึ่งเมืองไทยมีแผ่นที่ธรณีวิทยาที่ระบุว่าบริเวณใดบ้ างมีชั้นหินปูน สำหรับการตรวจสอบชั้นหินปูนนั้นทำได้ด้วยเทคนิคทางธร ณีฟิสิกส์ ด้วยการยิงกระแสไฟฟ้าลงดิน หากกระแสไฟฟ้าผ่านไม่ได้แสดงว่าชั้นใต้ดินมีโพลงอยู่


- พายุ "อกาธา"ถล่มอเมริกากลาง สังเวยแล้ว 132 ศพ


กระชับพื้นที่คืนความจริง “วันโลกหายนะ”

กระชับพื้นที่คืนความจริง “วันโลกหายนะ”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤษภาคม 2553 00:59 น.

ภาพจำลองดวงอาทิตย์พ่นมวลมีประจุที่เกิดขึ้นบ่อยมายั งโลก ซึ่งมีเส้นสนามแมเหล็ก (เส้นสีน้ำเงิน) เป็นเกราะกำบัง (ESA)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ภาพแสงเหนือจากลมสุริยะที่อลาสกา (John Russell/NASA)

ภาพจำลองสนามแม่เหล็กโลกซึ่งพุ่งจากขั้วโลกใต้ไปขั้ว โลกเหนือ (NASA)

ภาพโพรมิเนนซ์ขนาดใหญ่หรือก๊าซที่พวยพุ่งบนดวงอาทิตย ์ตรงขวาบนของภาพ (ESA)

(ซ้ายไปขวา) ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ และ ผศ.พงษ์ ทรงพงษ์ (จุฬาฯ)

ข่าว ลือเกี่ยวกับ “วันโลกหายนะ” เป็นอีกหนึ่งสีสันของจดหมายลูกโซ่ ที่วนเวียนอยู่บนโลกออนไลน์ วันดีคืนดีข่าวลือดังกล่าวมาปรากฏบนสื่อทีวีในช่วงเว ลา “ไพรม์ไทม์” ย่อมสร้างความตื่นตระหนกได้ในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคนในวงการวิทยาศาสตร์เอง คือผู้อ้างถึงข้อมูลวิทยาศาสตร์อย่างเป็นตุเป็นตะ

ตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับอีเมลลูกโซ่ เกี่ยวกับวันโลกหายนะเหมือนในภาพยนตร์เรื่อง 2012 อย่างต่อเนื่อง และมีการอ้างถึงข้อมูลวิทยาศาสตร์ เดิมเขาเชื่อว่ากระแสนี้จะซาไปแต่กลายเป็นว่ากระแสยั งคงมีอยู่ จึงตัดสินใจจัดเสวนาและแถลงข่าวชี้แจงเกี่ยวกับเรื่อ งดังกล่าว หลังเหตุการณ์บ้านเมืองเริ่มคลี่คลาย ในเวที “ตอบทุกคำถามสังคมไทยที่ กังวลต่อการล่มสลายของโ ลก” เมื่อวันที่ 25 พ.ค.53 ที่ผ่านมา ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

- สนามแม่เหล็กกลับขั้ว-โลกพลิก

หนึ่งในประเด็นการล่มสลายของโลกคือการกลับขั้วของสนา มแม่เหล็กโลกใน วันที่ 22 ธ.ค.55 จากเหนือไปใต้ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ดวงอาทิตย์กลับขั้ว เกิดสนามแม่เหล็กและความร้อนบนโลก ทำให้น้ำแข็งละลาย น้ำท่วมโลก เกิดสึนามิ โลกจะเอียงจาก 23.5 องศาไปเป็น 26 องศา แล้วพลิกกลับจากเหนือไปใต้

คำถามคือจริงหรือไม่ที่แม่เหล็กโลกจะกลับ ขั้ว?

ดร.สธนกล่าวว่า ปรากฏการณ์แม่เหล็กโลกกลับขั้ว เคยเกิดขึ้นบนโลกมาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งเว้นช่วงประมาณ 1 ล้านปี ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 700,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเริ่มมีมนุษย์กำเนิดขึ้นบนโลกแล้ว และระหว่างการกลับขั้วช่วง 1 ล้านปีนั้น อาจมีการกลับขั้วในช่วงสั้นประมาณ 4-5 พันปี

การกลับขั้วแม่เหล็กโลกนี้ ไม่ได้หมายถึงโลกพลิกกลับจากเหนือไปใต้ แต่หมายถึงสนามแม่เหล็กอ่อนกำลังลง แล้วเกิดสนามแม่เหล็กที่ยุ่งเหยิงขึ้น ก่อนกลับสู่สภาพปกติ ซึ่งระหว่างที่แม่เหล็กอ่อนลงนั้น จะมีรังสีคอสมิคเข้ามาแต่ไม่มากมายนัก

“ส่งผลกระทบไหม มีผลกระทบบ้างถ้าเรายังใช้เข็มทิศอยู่ แต่เดี๋ยวนี้เราใช้จีพีเอส (GPS) กันเยอะ ผลกระทบอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และช่วงเวลาระหว่างการพลิกขั้วเกิดขึ้นช้า เป็นระยะเวลาพันปี แสนปีขึ้นไป"

"ปัจจุบันความแรงสนามแม่เหล็กขึ้นๆ ลงๆ เมื่อ 700,000 ปีก่อน สนามแม่เหล็กโลกเคยอ่อนกว่านี้ด้วยซ้ำ ดังนั้นการกลับขั้วแม่เหล็กโลกไม่ใช่ประเด็นที่ก่อให ้เกิดปัญหา โดยหลักฐานการกลับขั้วคือหินแข็งที่มีสภาพแม่เหล็กตา มแม่เหล็กโลก ซึ่งเกิดจากหินร้อนๆ ในโลกออกมาเจอสภาพแม่เหล็กภายนอกแล้วแข็งตัว” ดร.สธนกล่าว

ขั้วแม่เหล็กโลกนั้น เกิดจากการไหลของกระแสโลหะหลอมเหลวในแกนกลางโลก ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเหมือนไดนาโมที่ใช้ขดลวดพันรอบ แกนแม่เหล็ก โดยสนามแม่เหล็กจะพุ่งจากขั้วใต้ไปขั้วเหนือ ดังนั้นขั้วโลกเหนือจึงเป็นขั้วแม่เหล็กใต้ และขั้วโลกใต้จึงเป็นขั้วแม่เหล็กเหนือ

แต่การไหลของกระแสโลหะหลอมเหลวในแกนกลางโลกไม่สม่ำเส มอ ตำแหน่งขั้วแม่เหล็กจึงไม่คงที่ และเป็นบริเวณกว้าง เช่น ปี 1904 ขั้วแม่เหล็กเหนืออยู่เป็นบริเวณหนึ่ง และปี 1996 ขั้วแม่เหล็กเหนืออยู่อีกบริเวณ เป็นต้น

- ดาวเคราะห์เรียงตัวทำแผ่นดินไหวบนโลก

การเรียงตัวของดาวเคราะห์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ถูกโยงว่าทำให้เกิดแผ่นดินไหวบ นโลก เนื่องจากมีแรงไทด์ (tide) กระทำต่อโลก

หากแต่ ดร.สธนอธิบายว่าแรงไทด์คือ "แรงน้ำขึ้นน้ำลง" (tidal force) นั่นเอง เป็นแรงเสมือนว่าดึงโลกให้ยืดออก และดวงจันทร์มีบทบาทให้เกิดแรงนี้กระทำต่อโลกมากที่ส ุด และด้านที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากที่สุดจะถูกดึงมากกว่ า โดยแรงนี้มีอธิบายด้วยสมการที่มีตัวแปรเพียง 2 ตัวคือ ระยะห่างระหว่างวัตถุที่ดึง และมวลของวัตถุที่ดึง

“แรงน้ำขึ้นน้ำลง น้อยกว่าแรงดึงดูดของโลกถึง 10 ล้านเท่า แรงที่สุดของแรงนี้คือ ทำให้ของเหลวบนโลกเคลื่อนที่ หรือเกิดน้ำขึ้นน้ำลง แต่ยังน้อยเกินกว่าจะมีผลต่อโครงสร้างหรือแผ่นทวีป 10 ล้านเท่า"

"ดวงอาทิตย์ซึ่งใหญ่กว่าดวงจันทร์มากแต่อยู่ห่างโลกมา กกว่า จึงมีแรงนี้น้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง หากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มาซ้อนกัน ผลคือทำให้เกิดน้ำขึ้นสูงในวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 15 ค่ำเท่านั้นเอง” ดร.สธนกล่าว

นอกจากนี้ ผลการเปรียบเทียบตำแหน่งการเรียงตัวของดาวเคราะห์ในร ะบบสุริยะกับการเกิด แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 10 อันดับ ซึ่งเกิดที่เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.47 เป็นแผ่นดินไหวใหญ่อันดับ 3 และครั้งรุนแรงสุดเกิดขึ้นที่ชิลี เมื่อ 22 พ.ค.03 นั้น ไม่มีครั้งใดเลยที่ดาวเคราะห์เรียงตัวกัน โดยพิจารณาเฉพาะดาวพุธ ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และโลก ส่วนดาวเคราะห์วงนอกนั้น ดร.สธนกล่าวว่าตัดออกได้ เพราะอยู่ไกลมาก

“เรียง หรือไม่เรียงไม่สำคัญ เพราะแรงไม่ถึงอยู่แล้ว คำอ้างในข่าวในฟอร์เวิร์ดเมล เป็นคำอ้างที่ไม่มีหลักฐาน การอ้างงานวิจัยก็มีความเข้าใจที่ไม่ตรง บทความยังไม่มีชื่อผู้เขียนและเป็นการคาดเดาไว้ก่อน” ดร.สธนวิจารณ์คำทำนายเรื่องโลกล่มสลาย ที่อ้างถึงผลการศึกษาของทีมนักวิจัยอิตาลี

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวมีอยู่จริง แต่รายละเอียดระบุว่า มีความแปรปรวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก่อนเกิดแผ่นดินไหวเล็กน้อย ซึ่งคาดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกเอง ไม่ใช่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดใหญ่ จนสามารถจุดฉนวนแผ่นดินไหวอย่างที่กล่าวอ้าง

-Solar Maximum คำที่ถูกอ้างวันโลกสลาย


ความวิตกว่า โลกถึงคราวหายนะนั้น มักเชื่อมโยงการเข้าสู่ช่วง "โซ ลาร์ แม็กซิมัม" (Solar Maximum) ของดวงอาทิตย์ ซึ่ง ผศ.พงษ์ ทรงพงษ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งร่วมเวทีเสวนาอธิบายว่า ช่วงดังกล่าว ดวงอาทิตย์มีกิจกรรม*เกิด ขึ้นมาก และมีการกลับขั้วสนามแม่เหล็ก เกิดขึ้นสลับกับ "โซลาร์ มินิมัม" (Solar Minimum) ที่ดวงอาทิตย์มีกิจกรรมน้อย โดยมีระยะเวลาสลับกันประมาณ 11 ปี

กิจกรรม ต่างๆ บนดวงอาทิตย์นั้น เกิดจากสนามแม่เหล็กเนื่องจากการไหลวนของก๊าซร้อนบนด วงอาทิตย์ ครั้งล่าสุดที่เกิด Solar Maximum คือเมื่อปี 2544 ส่วนตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วง Solar Minimum"

"ครั้งแรกที่เราเริ่มนับจุดมืดบนดวงอาทิตย์คือเมื่อปี 2323 ซึ่งพบว่าการเกิดจุดมืดมากสลับกับไม่มีเลยนั้นเป็นช่ วงๆ ชัดเจน ตอนนี้เราอยู่วัฏจักรสุริยะรอบที่ 23 และกำลังสู่รอบที่ 24 ในปี 2555 (หรือ 2012) ซึ่งจะเริ่มช่วง Solar Maximum รอบใหม่ แต่เราก็ตรวจดูสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ทุกวันว่า เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง” ผศ.พงษ์กล่าว

เมื่อเข้าสู่ Solar Maximum สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ มีกิจกรรมบนดวงอาทิตย์มากขึ้น สนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เพราะดวงอาทิตย์ส่งอนุภาคมีประจุมาเยอะขึ้น มีการพ่นมวลมีประจุมายังโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เราสังเกตได้ เช่น ปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ ซึ่งเห็นได้ที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ แต่ปี 2501 มีรายงานพบแสงเหนือ-แสงใต้ที่เม็กซิโก ซึ่งอยู่ต่ำจากขั้วโลกเหนือลงมาอยู่ที่ละติจูด 30 องศาเหนือ

เมื่อปี 2532 กิจกรรมบนดวงอาทิตย์ ได้ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในระบบส่งไฟฟ้าของแคนาดา จนหม้อแปลงไหม้และเกิดไฟดับ แต่ในปี 2544 ไม่เกิดเหตุไฟดับเนื่องจากทราบว่าจะเกิดขึ้นและได้เต รียมการรับมือไว้

- ซากดาวส่องตรงรังสีแกมมาเผาโลกเป็นจุณ

การระเบิดของรังสีแกมมา (Gamma Ray Burst: GRB) เป็นปรากฏการณ์ส่งรังสีแกมมาจากซากของดวงดาวที่กำลัง ดับสูญ และเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับดวงดาว ซึ่งมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 10 เท่าขึ้นไป โดยปกติดาวฤกษ์มีปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเป็นแหล่ง พลังงาน ซึ่งจะหลอมรวมธาตุเล็กให้กลายเป็นธาตุใหญ่ และให้พลังงานออกมา เสมือนมีแรงระเบิดนิวเคลียร์อยู่ภายในดวงดาว

ขณะเดียวกันดาวฤกษ์ยังมีแรงโน้มถ่วงดึงมวลกลับมาอยู่ รวมกัน จึงเปรียบได้กับการชักเย่อระหว่างแรงระเบิดกับแรงโน้ มถ่วง เมื่อธาตุตั้งต้นหมดลงการระเบิดก็น้อยลง ทำให้แรงโน้มถ่วงชนะและเริ่มดึงให้ดาวยุบลง

อย่างไรก็ดี การยุบตัวของดาวนั้น มีปลายทางที่แตกต่างกัน ดาวบางดวงยุบตัวอย่างเงียบสงบและหมดพลังงานไป บางดวงเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ขึ้นอีกเนื่องจากแรงโน ้มถ่วงทำให้เกิดการหลอม รวมของธาตุครั้งใหม่

บางดวงเกิดระเบิดอย่างรุนแรงเรียกว่า “โนวา” (nova) หรือ “ซูเปอร์โนวา” (supernova) กลายเป็นเนบิวลาและเกิดการรวมตัวของก๊าซกลายเป็นดาวอ ีกรอบ บางดวงยุบตัวอย่างรวดเร็วและกลายเป็นหลุมดำ แต่บางครั้งเกิดการยุบตัวและเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ที่รุนแรงพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดรังสีแกมมาความเข้มสูงส่งออกมาในทิศทางที่แ น่นอนและเป็นลำแคบๆ หรือเรียกว่าการระเบิดของรังสีแกมมานั่นเอง

ถ้า ส่องมายังโลก ก็ตายหมดทั้งโลก การระเบิดของรังสีแกมมาการระเบิดของรังสีแกมมานี้ น่ากลัวมาก แต่ต้องกลัวไหม ไม่ต้องกลัว เพราะถ้าเกิดขึ้นก็รวดเร็วมากจนเราไม่ทันได้รู้สึก เนื่องจากรังสีเดินทางด้วยความเร็วแสง" ผศ.พงษ์กล่าว

อย่างไรก็ดี ผศ.พงษ์กล่าวเผยว่า โอกาสดังกล่าว เกิดขึ้นน้อยมาก เพราะอย่างแรกต้องเกิดใกล้ๆ เรา ประมาณกาแลกซีถัดไป และต้องหันมาทางเราพอดี ซึ่งดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เราที่สุดคือดาวพรอกซิมา (Proxima) อยู่ไกลออกไป 4.2 ปีแสง แต่มีขนาดเพียง 1 ใน 10 ของดวงอาทิตย์ เมื่อดาวดวงนี้ดับ จะไม่เกิดระเบิดรังสีแกมมาแน่นอน แต่ถ้าถึงวันหนึ่งเราจะต้องไป เราก็ต้องไป.




*กิจกรรมสุริยะ
(solar activities) คือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ ได้แก่

- การลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ (solar flare) เป็นการปะทุของก๊าซร้อนภายในดวงอาทิตย์เมื่อมีช่องโห ว่ที่ผิวดวงอาทิตย์ ทำให้ก๊าซร้อนกว่า 20,000 องศาเซลเซียสปะทุออกมาที่ดวงอาทิตย์ซึ่งปกติมีอุณหภู มิประมาณ 6,000 องศาเซลเซียส เห็นเป็นแสงเจิดจ้าที่ผิวดวงอาทิตย์

- โพรมิเนนซ์ (prominence) เป็นพวยก๊าซที่พุ่งออกมา แล้วพุ่งกลับเหมือนมีท่อเป็นทางเดิน ซึ่งท่อดังกล่าวจริงๆ แล้ว คือสนามแม่เหล็กที่บังคับให้พวยก๊าซพุ่งกลับสู่ดวงอา ทิตย์ ขนาดของพวยก๊าซใหญ่กว่าโลกและดวงจันทร์

- ลมสุริยะ (solar wind) เป็นอนุภาคมีประจุที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์พร้อมสนามแม่ เหล็กระยะสั้น หรือเรียกว่าพายุสุริยะเมื่อมีความรุนแรงกว่าและอนุภ าคถูกส่งพุ่งออกไปทั่วๆ การพ่นมวลจากดวงอาทิตย์ (coronal mass ejection: CME) เป็นอนุภาคของดวงอาทิตย์ที่พุ่งออกมาเป็นลำ ด้วยความเร็วสูงและมีทิศทางค่อนข้างแคบ เมื่อพุ่งมาแต่ละครั้งสามารถกลบโลกได้มิด โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาโลกได้รับลำอนุภาคนี้ ส่งผลให้การสื่อสารขัดข้องและสำนักข่าวบีบีซีได้ออกป ระกาศเตือนถึงเรื่องนี้ ด้วย

- จุดมืด (sunspots) เป็นจุดดำบนดวงอาทิตย์ ค้นพบครั้งแรกเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) หลังจากเขาประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แล้วส่องขึ้นไปบนฟ้ า โดยที่ยังไม่ทราบว่าการส่องดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่านั้ นเป็นอันตราย ข้อ ดีของจุดมืดคือทำให้ทราบว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเ อง และจุดมืดนี้มีหลายจุดเพิ่มขึ้น-ลดลงอยู่เสมอ

10 มิถุนายน 2553

ทุกเมล็ดพันธุ์ รู้วิธีฝ่าชั้นดินออกไปหาแสง

Every Seed knows how to strive for Light..
ทุกเมล็ดพันธุ์ รู้วิธีฝ่าชั้นดินออกไปหาแสง

จากประโยคนี้--
สิ่งที่บอกเรามากกว่าคำแปลที่ตรงตัว คือ
..เราทุกคนไม่ต้องพยายามอะไรเลยในการรักตัวเอง
เพราะธรรมชาตินั้น ได้มอบ"ความต้องการที่จะแสวงหาความอยู่รอด"ให้กับทุกสรรพสิ่งที่ีมีชีวิตบนโลกนี้อยู่แล้ว
เราไม่ต้องไปตามหา วิธีที่จะรักตัวเองหรอก
เพราะสัญชาติญาณนี้ ...มันก็ไม่เคยหนีจากเราไปไหน
เหมือนกับเจ้าเมล็ดพันธุ์ที่จมอยู่ในดิน ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถขยับเขยื้อนตัวได้ แต่มันก็ยังสามารถดิ้นรน หาช่องทางให้ต้นอ่อนของตัวเองได้ผลิออกมาเพื่อพบกับแสงแดดเหนือผิวดินจนได้ในไม่ช้า

ดังนั้น นิยามของการรักตัวเองที่ดีๆ มากมาย อย่างแน่นอน
* คือ การที่เราไม่เพิกเฉยต่อความทุกข์ของตัวเอง
* คือ การที่เราพยายามทำทุกวิถีทาง ที่จะเยียวยาตัวเองให้ดีที่สุดในทางสร้างสรรค์
* คือ การที่เราเฝ้ามองตัวเองอย่างลึกซึ้ง และสม่ำเสมอ และเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองมีความสุข

* หรือคือ การละความพึงพอใจเล็กๆ น้อยๆ
ที่ไม่มีสาระ แล้วเริ่มหันมาแสวงหาความสุขที่แท้จริงในชีวิต....ฯลฯ

นิยามเหล่านี้จะไม่มีความจำเป็นเลยก็ได้
ถ้าเพียงเรานั้นสามารถตระหนักรู้ว่ามนุษย์ทุกคนก็เป็นเมล็ดพันธุ์ชนิดหนึ่งที่มี"ความรักตัวเอง"ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเช่นเดียวกัน
เวลาที่มือเราโดนของร้อน... แล้วเรารีบดึงมือกลับ
เวลาที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือแสงสว่างจ้าเข้าตา.... แล้วเรารีบหลับตาทันที
หรือแม้แต่คนที่กำลังจะแขวนคอตายวินาทีที่ร่างกายพยายามดิ้นรนตะเกียกตะกาย ตอนที่เท้าของเขาลอยอยู่เหนือพื้น
ล้วนแต่เป็นเครื่องชี้ชัดของความต้องการอย่างแรงกล้าที่่จะป้องกัน...และปกป้องชีวิตตัวเองทั้งสิ้น.

อยากบอกตัวเอง และทุกคนว่า...
แค่เพียงรับรู้ให้ได้เท่านั้น ว่าเรามี ในสิ่งที่ตัวเองกำลังตามหาอยู่แล้ว ที่เหลือจากนั้น ก็จงปล่อยให้สัญชาติญาณได้ทำหน้าที่ของมัน โดยที่เราอย่าไปแทรกแซงด้วยการสร้างความคิดปรุงแต่งอื่นๆให้มาเบียดบังความรักตัวเองจนอ่อนกำลังลง และทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ ง่ายๆแค่นี้เท่านั้น--
แล้วทุกๆอย่าง..ก็จะเข้าที่เข้าทาง สามารถดำเนินไปในเส้นทางที่มันควรจะเป็นได้เอง
บนพื้นฐานความจริงที่ว่า...
"ที่สุดแล้ว.. เราทุกคนต่างต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองเสมอ"

จากส่วนหนึ่งของหนังสือ"อาจมีความหมาย ในวันที่เธอท้อ Find the Ways"
โดย... ปูปรุง