18 มกราคม 2553


คำบอกเล่าจากผู้รอดชีวิตแผ่นดินไหวในเฮติ

ผู้รอดชีวิตแผ่นดินไหวในเฮติเดินทางมาถึงรัฐไมอามีของสหรัฐฯแล้ว พร้อมบรรยายประสบการณ์อันน่าสะพรึงกลัวในเหตุแผ่นดินไหว7.0ริกเตอร์

http://video.sanook.com/เฮติ_แผ่นดินไหว7.3ริกเตอร์__12_ม.ค_2010-407483-player.html


โจ เซฟ มงปิลิเยร์ หนึ่งในผู้รอดชีวิตเล่าว่าตอนที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว เขาเห็นอาคารก่อสร้างค่อยๆ พังทลายลง และผู้คนพร้อมกับสิ่งของต่างๆ ก็เริ่มลอยขึ้นไปบนอากาศ

นอกสนามบินในเฮติ ผู้คนแตกตื่นและวิ่งไปมาตามท้องถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่นและควันที่ลอยขึ้นมาจาก ซากปรักหักพังของอาคาร ทั้งสำนักงาน โรงแรม บ้านเรือน และร้านค้า ก็ทยอยกันพังทลายลงมา แม้กระทั่ง ทำเนียบประธานาธิบดีก็พังถล่มจนราบ

ชอง ชาร์ลส ผู้อยู่ในเหตุการณ์อีกคนหนึ่งเล่าว่าในตอนแรกที่เธอได้ยินเสียงดังอึกทึก นั้นเธอนึกว่าเป็นเครื่องบินที่กำลังจะลงจอด แต่แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็แตกออกเป็นเสี่ยงๆ และทุกคนก็เริ่มออกวิ่งเอาตัวรอดแต่ก็ไม่มีที่ให้ซ่อน และเธอก็ได้ยินเสียงผู้คนร้องไห้ระงม

เฮติเป็นประเทศที่จนที่สุดใน ซีกโลกตะวันตกและเคยประสบกับความหายนะจากภัยธรรมชาติมาแล้วหลายครั้ง ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจและกองกำลังทหารจากสหประชาชาติกว่า 9,000 นาย ได้เดินทางไปประจำการในเฮติเพื่อให้ความช่วยเหลือแล้ว

แผ่นดินไหว 7ริคเตอร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้ ถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 200 ปี ของเฮติ

ภาพ : Reuters
Content by Voice TV
13 มกราคม 2553 เวลา 15:28 น.

ชี้แผ่นดินไหวเฮติ คล้าย 2012 วันสิ้นโลก!!! คม ชัด ลึก


ชี้แผ่นดินไหวเฮติ คล้าย 2012 วันสิ้นโลก!!!
ชี้แผ่นดินไหวเฮติ คล้าย 2012 วันสิ้นโลก!!!

โศก นาฏกรรมกลางเมืองหลวงเฮติ แผ่นดินไหว 7 ริกเตอร์ กว่า 1 นาที ทำเนียบประธานาธิบดี-ที่ทำการกระทรวง-ตึกถล่มพังพินาศ คาดยอดตายสูงหลายพันคน "สมิทธ" ชี้ปรากฏการณ์ "พายุสุริยะ" เขย่าโลก คล้ายในหนัง "2012 วันสิ้นโลก"

เกิดเหตุแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.0 ริกเตอร์ ใกล้เมืองหลวงของสาธารณรัฐเฮติ เมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. วันที่ 13 มกราคม ตามเวลาประเทศไทย ส่งผลให้เนียบประธานาธิบดี ที่ทำการกระทรวงต่างๆ ตลอดจนที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) พังถล่ม คาดว่ายอดผู้เสียชีวิตน่าจะสูงนับพันคน เพราะจุดเกิดเหตุมีคนอาศัยอยู่หนาแน่น ขณะที่อาคารบ้านเรือนก็สร้างอย่างไม่แข็งแรง

แผ่นดินไหวครั้งนี้ถือเป็นครั้งรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 200 ปี ที่เกิดขึ้นในเฮติ ประเทศยากจนในแถบแคริบเบียน แถมยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงตามมาอีกถึง 24 ครั้ง เบื้องต้นทางการเฮติยืนยันแล้วว่า ประธานาธิบดีเรเน พรีวาล และภริยาปลอดภัยดี แม้ทำเนียบจะได้รับความเสียหายยับเยินจากเหตุธรณีพิโรธที่มีศูนย์กลางอยู่ ห่างจากเมืองหลวงเพียง 15 กิโลเมตร และเกิดลึกลงไปใต้ผิวดินเพียง 10 กิโลเมตร

แผ่นดินไหวครั้งนี้กินเวลากว่า 1 นาที แต่แรงสั่นสะเทือนทำให้แม้แต่ตึกที่มีโครงสร้างแข็งแรงอย่างทำเนียบ ประธานาธิบดี กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ มีรายงานว่าโรงพยาบาลแห่งหนึ่งชานเมืองหลวงพังถล่มลงมาด้วย

ด้านยูเอ็นแถลงว่า ตึกสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในกรุงปอร์โตแปรงซ์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่กว่า 7,000 คน ได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีเจ้าหน้าที่ยูเอ็นสูญหายเป็นจำนวนมาก

เบื้องต้นหนังสือพิมพ์ไชนา เดลี รายงานว่า มีเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวจีนเสียชีวิต 8 คน สูญหายอีก 10 คน ส่วนโฆษกกองทัพจอร์แดนแถลงว่า มีเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวจอร์แดนเสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ 3 นาย ได้รับบาดเจ็บอีก 21 นาย ขณะที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีทั้งเจ้าหน้าที่พลเรือนและทหารประจำการอยู่ในเฮติกว่า 600 คน ก็แสดงความเป็นห่วงคนของตัวเองเช่นกัน

ส่วนภาพที่ชาวเฮตินำมาโพสต์ลงอินเทอร์เน็ต และภาพที่สื่อต่างๆ ถ่ายออกมา แสดงให้เห็นว่าจุดเกิดเหตุเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องที่พังราบเป็นหน้ากลอง เสาโทรศัพท์ล้มลงมากองกับพื้น รถยนต์หลายคันถูกซากปรักหักพังทับพังยับ กลุ่มควันขนาดใหญ่ลอยปกคลุมพื้นที่บางส่วนของตัวเมือง ชาวเมืองที่ร่างปกคลุมไปด้วยฝุ่นผงได้รับความช่วยเหลือออกมาจากซากปรักหัก พัง ถนนและทางหลวงบิดเบี้ยวไปมา บ้างก็ถูกตัดขาด

แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 16.53 น.ของวันอังคาร ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากนั้นไม่นานความมืดก็เข้าปกคลุม แต่แผ่นดินไหวทำให้สายไฟขาด จึงไม่มีไฟตามท้องถนนหรือตามตึกรามบ้านช่องต่างๆ ทำให้การกู้ภัยเป็นไปอย่างยากลำบาก และยังไม่ทราบยอดผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บที่ชัดเจน แต่เจ้าหน้าที่ประเมินว่า ยอดในเมืองหลวงน่าจะสูง เพราะนอกจากจะแออัดแล้ว ยังเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องที่สร้างอย่างไม่แข็งแรงด้วย

ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า หลังเกิดเหตุกลุ่มควันสีขาวซึ่งเกิดจากผงฝุ่นจากอาคารที่พังถล่มลงมาได้ปก คลุมท้องถนนในกรุงปอร์โตแปรงซ์ กลุ่มควันนี้ลอยอยู่ในอากาศจนกระทั่งความมืดปกคลุมลงมา ขณะที่สถานการณ์ในเมืองเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย ผู้ที่รอดชีวิตต่างวิ่งวุ่นตามหาญาติๆ ของตัวเอง เสียงไซเรนดังไปทั่วเมือง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นานาประเทศต่างประกาศให้ความช่วยเหลือกันโดยถ้วนหน้า เยอรมนีประกาศให้ความช่วยมูลค่า 1 ล้านยูโร (กว่า 47 ล้านบาท) ในทันที ขณะที่อังกฤษ ฝรั่งเศส ไต้หวัน ส่งคณะเจ้าหน้าที่ไปให้ความช่วยเหลือแล้ว ด้านเจ้าหน้าที่กาชาดซึ่งไปถึงที่เกิดเหตุแล้วบอกว่า ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทั้งโทรศัพท์ ไฟฟ้า น้ำประปา ตลอดจนการรักษาพยาบาลในเมืองหลวงของเฮติตอนนี้ใช้การไม่ได้เลย ทั้งยังประเมินว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบร่วม 3 ล้านคน

ทั้งนี้ เฮติเป็นประเทศที่ยากจนในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ต้องเผชิญกับหายนภัยครั้งรุนแรงหลายครั้งในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเมื่อปี 2551 เกิดเฮอริเคน 3 ลูก และพายุโซนร้อนลูกหนึ่งถล่ม มีคนตาย 793 คน สูญหายอีกกว่า 300 คน ในปีเดียวกันนั้นยังเกิดการจลาจล เพราะราคาอาหารแพงลิบอีกด้วย

ด้าน นายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อธิบายถึงสัญญาณผิดปกติจากเกิดแผ่นดินไหวที่สาธารณรัฐเฮติว่า เคยมีนักวิทยาศาสตร์ที่คิดแตกต่างกัน มองว่าการเกิดแผ่นดินไหวบนโลกทุกวันนี้เกิดจากการสะสมพลังงานจากใจกลางโลก และนอกโลก ซึ่งเป็นพลังงานที่ปลดปล่อยมาจากระบบสุริยะ คล้ายกับปรากฏการณ์ในภาพยนตร์เรื่อง "2012 วันสิ้นโลก" ที่เกิดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอย่างรุนแรง เนื่องจากความผิดปกติของการเคลื่อนตัวของระบบสุริยะที่สร้างแรงกระตุ้นให้ ดาวเคราะห์ต่างๆ รวมถึงโลก โดยการปลดปล่อยพลังงานแสง พลังงานสนามแม่เหล็ก มายังดาวเคราะห์หลายดวง กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ แสงสว่าง ทำให้โลกได้รับสนามแม่เหล็กจากการเกิด "พายุสุริยะ" หรือ "จุดดับ" ก็ส่งพลังงานจากภายนอกเข้ามามีผลต่อการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกได้

"ส่วนตัวผมเชื่อว่ามันเป็นไปได้ ที่โลกได้รับพลังงานจากระบบสุริยะ หรือจักรวาลอื่นๆ ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก อย่างกรณีที่เฮติก็เชื่อว่าเกิดจากการเรียงตัวของดาวเคราะห์ในระบบสุริย จักรวาล ที่กระตุ้นให้ดวงอาทิตย์เกิดสันดาป ปลดปล่อยสนามแม่เหล็กมาสู่โลก" นายสมิทธกล่าว

ไฟล์:Haiti earthquake damage overhead.jpg







21-12-2012 โลกใบใหม่ กับ การทำนายธรรมชาติ

ส่งมาเมื่อ 07 ต.ค. 2008 - 00:00:00. หมวด: ชุมชน/สิ่งแวดล้อม ป้าย:

การ ทำนายนั้นอยู่คู่กับสังคมของเรามานาน โดยเฉพาะการทำนายธรรมชาติ เช่นการดูสีของท้องฟ้า ก้อนเมฆ สายลม ดวงดาว แม้กระทั่งการมองเห็นด้วยจิต ที่สามารถหยั่งรู้ฟ้าดินและธรรมชาติได้ เหมือนที่เคยฮือฮากันไปเมื่อหลายปีก่อน เมื่อนาย กอร์ดอน (Gordon-Michael Scalion) ชาวอเมริกันที่เคยเสียชีวิตเมื่อปี 1979 แต่ กลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง จากนั้นเขาก็อ้างว่า ได้รับพรสวรรค์ที่หยั่งรู้อนาคต เขามักจะเดินทางไปอยู่บนพื้นที่สูงๆ บนภูเขา แล้วมองลงมาเห็นภาพในอนาคต โดยเฉพาะภาพของเมืองที่เปลี่ยนไป และโลกที่จะเกิดขึ้นมาใหม่


คน ที่เชื่อถือนายกอร์ดอนนั้นมีไม่น้อย เพราะได้เคยฝากผลงานการทำนายที่แม่นยำเอาไว้ เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวในลอส แองเจอริส เมื่อเดือนเมษายน พ.. 2535, เหตุการณ์แผ่นดินไหวในแคลิฟอร์เนียเมื่อ มกราคม 2537 รวมอีกหลายเหตุการณ์ที่เขาทายไว้แล้วก็ถูกเผง


แต่ที่น่าตื่นเต้นที่สุด ก็เห็นจะเป็นการทำนายเมื่อปี พ..2521 ซึ่งเขาเห็นตัวเองลอยอยู่เหนืออวกาศ แล้วมองลงมาบนโลก ด้วยภาพแผนที่โลกใหม่ เขาจึงใช้เวลาอยู่ 4 ปี ที่จะร่างแผนที่โลกอนาคตที่เห็นคนเดียวนั้นออกมาสู่สายตาชาวโลก พร้อมทั้งให้คำอธิบายไว้ว่า โลกที่แปรเปลี่ยนไปนี้จะเกิดจากน้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ทำให้ทวีปของโลกเคลื่อนไปหมด และสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นระหว่างปี ..1998-2012 หรือ พ..2541-2555 นั่นเอง


แผนที่โลกใบใหม่ โดย Gordon-Michael Scalion ทำเสร็จเมื่อปี 2525


ความเชื่อนี้สอดคล้องกับคำทำนายของอีกหลายคน เช่น นาย ฮูเซลีนโย่
(Juseleeno ) ชาว บราซิล ที่มองเห็นอนาคตล่วงหน้าด้วยตานิมิต สิ่งที่เขาเห็นแบบเดียวกับกอร์ดอนเห็นก็คือ โลกจะพังพินาศด้วยภัยธรรมชาตินานัปการ เป็นต้นว่า ในปี 2551 นี้ ญี่ปุ่นจะเกิดแผ่นดินไหว รวมถึงจีน มีการเสียชีวิตนับล้านคน และจะเกิดการก่อการร้ายครั้งใหญ่ในอเมริกา ปี 2553 ทวีปแอฟริกาจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำอย่างหนัก และปี 2554 จะเกิดโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่ฆ่ามนุษย์ วิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2557 ดาวเคราะห์ขนาดเล็กจะชนกับโลก จนถึงปี 2558 มนุษย์จะตายเพราะทนความร้อนไม่ได้


สำหรับ “อูแรนเดอร์ โอลิเวียร่า” ผู้ซึ่งอ้างว่าเคยได้ติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวผู้โด่งดังนั้น ก็อ้างว่าเขามีโทรจิตที่เห็นภาพอนาคตจากการบอกเล่าของมนุษย์ต่างดาว ว่าในปี ค
..2012 นั้น จะมีแสงสว่างมากที่สุดในกาแลกซี่และสะท้อนไปยังดาวเคราะห์ที่โคจรรอบตัว สิ่งมีชีวิตและโลกจะปั่นป่วนอย่างยิ่ง


ด้วยความเชื่อเหล่านี้ บวกกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ จึงมีผู้คาดการณ์วันอันน่าระทึกเอาไว้ที่วันที่
21 เดือน ธันวาคม ค..2012 นั้นเป็นวันเริ่มต้นกระบวนการดับสูญของโลก หรือ Doomsday -21/12/12” โดย คาดการณ์ว่าเป็นวันที่พระอาทิตย์จะเดินทางมาอยู่ยังศูนย์กลางของกาแลกซี่ ทำให้โลกดวงเล็กๆ ของเราคลอนโยกเยกและปลิวไปมา กระทั่งอาจจะต้องดับสูญลงไป โดยขณะนี้มีผู้จำลองเหตุการณ์ของ Doomsday แบบมัลติมีเดียไว้ในเวบไซต์ของ YouTube มากกว่า 20 ชุด เช่นวิดีโอด้านล่างนี้ ถูกบรรจุโดยผู้ใช้ชื่อว่า AfroDude เผยแพร่เมื่อเดือนเมษายนของปีนี้


มีผู้อธิบายปรากฏการณ์นี้ในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า เกิดจากการพลิกกลับของขั้วแม่เหล็กโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้คอมพิวเตอร์
Hyderabad คำนวณการแลกเปลี่ยนพลังงานที่ขั้วทิศเหนือและขั้วทิศใต้สลับตำแหน่งกัน ว่ามีคุณสมบัติแม่เหล็กพลิกกลับขั้วของดวงอาทิตย์ทุกๆ 11 ปี และจะก่อพลังงานสูงสุดได้ในปี 2012 อย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่นเดียวกับที่เคยเกิดเมื่อหลายล้านปีก่อน

อย่างไรก็ดี มีผู้ออกความเห็นมากมายที่ยังเชื่อว่า ปี 2012 อาจ ไม่ใช่วันสิ้นโลก แต่เป็นเพียงการเริ่มต้นที่จะเห็นโฉมหน้าของโลกใหม่ เรากลับมาที่แผนที่โลกของนายกอร์ดอนอีกครั้ง ซึ่งแผนที่ฉบับนี้ (Future Map Of The World) ได้ระบุเหตุการณ์ไว้มากมาย สรุปที่สำคัญๆ ได้เป็นต้นว่า

ออสเตรเลียจะเสียแผ่นดินไป
25% จากน้ำท่วม, นิวซีแลนด์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะแผ่นดินเก่าและใหม่จะเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกัน นิวซีแลนด์ห่างไกลจากทะเลมาก แอฟริกาจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน แม่น้ำไนส์จะกว้างกว่าเดิมมาก ทะเลแดงจะกว้างออกทำให้ "โคโร" จมหายไปในทะเล เช่นเดียวกับเกาะมาดากัสการ์

จะ มีแผ่นดินเกิดใหม่ในทะเลอาหรับ ทะเลสาปวิคอเรียจะรวมเข้ากับทะเลสาบยาซาไหลสู่มหาสมุทรอินเดีย ส่วนอเมริกาใต้จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ ลุ่มน้ำอะเมซอนจะกลายเป็นทะเลปิดแบบเดียวกับทะเลสาปสงขลา ในแมกซิโกจะเกิดภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหวต่อเนื่องยาวนาน
25 ศตวรรษ ส่วนยุโรปตอนเหนือจะจมลงทะเล เหลือแค่เกาะเล็กๆ รัสเซียจะแยกจากยุโรป เกิดทะเลใหญ่ยาวมาก ฝรั่งเศสจะจมน้ำเหลือแต่กรุงปารีส ทางน้ำใหม่จะแยกสวิสเซอร์แลนด์ออกจากฝรั่งเศส และอิตาลี เวนิส เนเปิ้ล รวมถึงโรมจะจมน้ำหายไปในทะเล ฯลฯ



แผนที่โลกใบใหม่ในส่วนเอเชีย และส่วนขยายประเทศไทย


มา ดูฝั่งเอเชียของเรากันบ้าง แผนที่ใหม่นี้ได้บอกว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่จะทำให้เกิดน้ำท่วมตั้งแต่ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ไปจนถึงทะเลแบริ่งซึ่งอยู่ระหว่างอะลาสก้ากับรัสเซีย เกาะญี่ปุ่นจึงจะจมหายไปหมด เหลือไว้แค่ 2-3 เกาะ เท่านั้น ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ และไต้หวันกับเกาหลี ก็จะหายจมไปในทะเล ดังนั้น แนวฝั่งของจีนก็จะร่นเข้าไปในแผ่นดินใหญ่หลายร้อยไมล์ทีเดียว อินโดนีเซียจะถูกทำลาย เช่นเดียวกับฟิลิปินส์ เอเชียจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สูงมากเพราะตั้งอยู่บน 3 ทวีป ส่วนไทยนั้นอยู่บนแผ่นทวีปของ ยูเรเซี่ยน ซึ่งจะเกิดการยกตัวให้สูงขึ้น แผ่นแปซิฟิกจะเคลื่อนไป 9 องศา ดังนั้น บางส่วนจะมุดตัวลง บางส่วนจะยกตัวขึ้น

ผล สรุปการทำนายก็คือ ประเทศไทยจะยังเหลืออยู่บางส่วนตามภาพที่ขยายออกมา ซึ่งคงได้ยินกันมาอยู่บ้างว่า ประเทศไทยจะเหลือมากที่สุดคือภาคเหนือ ส่วนอีสานบางส่วน และภาคใต้จะจมลงไปในทะเลพร้อมกับมาเลเซีย สิงคโปรและอินโดนีเซีย ส่วนชายฝั่งทะเลจะมาอยู่ที่ชัยภูมิ เพรชบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัยและตาก และแม่น้ำโขงจะกลายจากแม่น้ำเป็นทะเล

สำหรับวิดีโอข้างล่างนี้ เป็นมัลติมีเดียการทำนายแผนที่ใหม่ของจีน ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์
Youtube โดยผู้ใช้ชื่อ halobed



สำหรับในบ้านเรา คุณหมอประสาน ต่างใจ เคยพูดเอาไว้ในงานเสวนา “พุทธศาสตร์กับอนาคตโลก” ถึงการละลายของน้ำแข็งบนยอดเขา จำนวน 19 ร้อยล้านตันว่าจะใช้เวลาอีกราว 5-7 ปี ซึ่งละลายหมดในปี ค..2012 เช่นเดียวกันกับปฏิทิน 22 ของชาวเผ่ามายา ได้ทำปฏิทินเอาไว้ที่ 5,000 ปี โดยแต่ละเดือนจะมี 20 วัน โดยเชื่อว่า โลกในวันสุดท้ายคือ 22 ธันวาคม ค..2012 พระเจ้าของพวกเขาจะปรากฏตัวอีกครั้งนั่นเอง

อ่านจบแล้วอย่าลืมว่า นี่เป็นคำทำนายเท่านั้น ยังไม่มีใครรับรองได้ว่าจะเกิดได้จริงดั่งภาพนิมิตจากนักทำนายเหล่านี้ ในวันที่ 21/12/2012 หรือไม่ มีแต่อนาคตเท่านั้นที่จะบอกได้ค่ะ : -)

ข้อมูลอ้างอิง

http://matrixinstitute.com/store/FUTURE-MAPS-p-1-c-271.html

http://www.bibliotecapleyades.net/profecias/esp_profecia_mapas.htm

http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEmono/TSE2009/TSE2009.htm

www.starbridge.com.au

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=247742

http://www.youtube.com/v/nUI-LgZ2vlc&hl

http://www.youtube.com/v/nUI-LgZ2vlc&hl

http://www.indiadaily.com/editorial/1753.asp


กล้องโทรทรรศน์คืออะไร?

กล้องโทรทรรศน์คืออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่ทำหน้าที่ดึงภาพจากระยะไกลให้ปรากฏเหมือนกับอยู่ใกล้ ๆ ใช้สำหรับส่องดูวัตถุไกล ๆ เช่น ดวงดาว ตามนิยามเดิมในภาษาอังกฤษ จะระบุด้วยว่ากล้องจะต้องเป็นวัตถุทรงกระบอก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีของกล้องโทรทรรศน์พัฒนาไปมาก จนสามารถสร้างกล้องจนมีรูปร่างหลากหลายมากขึ้นจนบางชนิดอาจไม่เป็นทรงกระบอก ก็ได้


เหตุใดเมื่อมองเนบิวลาด้วยตาผ่านกล้องโทรทรรศน์ไม่ปรากฏเป็นสีอย่างที่เห็นในภาพถ่าย?

เนื่องจากเนบิวลาส่วนใหญ่มีความสว่างน้อยมาก ซึ่งในสภาพที่แสงน้อยมาก ๆ ประสาทรับสีของตาเราจะไม่สามารถรับรู้สีสันต่าง ๆ ได้ เนื่องจากประสาทรับสีของคนจะมีความไวน้อยกว่าประสาทรับความเข้มแสงมาก แต่ภาพถ่ายของเนบิวลาที่ปรากฏเป็นสีสันสวยงาม เพราะถ่ายด้วยฟิล์มซึ่งสะสมแสงและสีได้

ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้างจึงจะถ่ายรูปดาวหางได้?

อุปกรณ์ถ่ายรูปดาวหางที่สว่างเห็นด้วยตาเปล่าอย่างง่ายที่สุด ต้องมี 3 อย่าง คือ

  1. กล้องถ่ายรูปแบบ SLR พร้อมเลนส์ปกติทางยาวโฟกัส 50 มิลลิเมตร
  2. กล้องควรมีปุ่มบังคับม่านชัดเตอร์ B และควรใช้คู่กับสายลั่นชัตเตอร์
  3. ขาตั้งกล้อง

อุปกรณ์ 3 อย่างข้างต้นล้วนแต่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้ที่รักการถ่ายรูปมีกันทุกคน เพียงแค่นี้นักถ่ายรูปดาวหางมือใหม่ อาจบันทึกภาพประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วพริบตา และอาจเป็นเพียงคนเดียวที่บันทึกได้ เช่น การสลัดส่วนหางของดาวหาง การระเบิดแตกตัวของนิวเคลียส กระทั่งการเกิดหางชนิดพิเศษชี้เข้าหาดวงอาทติย์ (antitail) แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ค้นพบ แต่ภาพถ่ายที่มีคุณค่าเหล่านี้จะถูกกล่าวอ้างกันไปชั่วลูกชั่วหลานเช่นกัน


ข้อแนะนำอย่างง่ายที่สุดในการถ่ายรูปดาวหางขนาดใหญ่

อุปกรณ์ถ่ายรูปดาวหางที่สว่างเห็นด้วยตาเปล่าอย่างง่ายที่สุด ต้องมี 3 อย่าง คือ

  1. กล้องถ่ายรูปแบบ SLR พร้อมเลนส์ปกติทางยาวโฟกัส 50 มิลลิเมตร
  2. กล้องควรมีปุ่มบังคับม่านชัตเตอร์ B และควรใช้คู่กับสายลั่นชัตเตอร์
  3. ขาตั้งกล้อง

เมื่อมีอุปกรณ์ข้างต้นเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ตั้งกล้องบนขาตั้ง เลือกใช้ฟิล์มอะไรก็ได้ที่มีค่าความไวสูง (อย่างค่ำต้อง ISO 400) จากนั้นเล็งกล้องไปยังดาวหางบนฟ้า เลือกมุมตามใจชอบ ปรับโฟกัสไปที่ระยะอนันต์ เปิดหน้ากล้องให้กว้างที่สุดให้แสงเข้ากล้องเต็มที่ ใช้ระบบ B เปิดหน้ากล้องที่ความไวต่างกันในแต่ละรูป โดยเริ่มจากไม่กี่วินาที จนกระทั่งถึง 2-3 นาที โดยแต่ละภาพควรจดบันทึกเวลาที่เปิดหน้ากล้องไว้ด้วย จากนั้นนำฟิล์มไปล้างเพื่อดูผลงาน เปรียบเทียบดูว่าภาพเปิดหน้ากล้องที่เวลาเท่าใดจะได้ภาพดาวหางที่สวยงาม ก็จดจำค่าดังเกล่าว และนำมาพัฒนาการถ่ายรูปดาวหางในคืนต่อมา

ต้องอย่าลืมว่า ดาวหางปรากฏให้เห็นเป็นเวลาหลายวัน ในแต่ละครั้งของการถ่ายภาพควรถ่ายให้หมดม้วน หรือหากไม่หมดให้ใช้วิธีตัดฟิล์มไปล้าง ดีกว่าถ่ายจนหมดม้วนกินเวลาหลายวัน หากผิดพลาดจะไม่มีโอกาสแก้ตัว

กล้องแบบไหนถ่ายดาวหางได้ดีที่สุด

หลักสำคัญของการเลือกใช้กล้องเพื่อถ่ายดาวหางก็คือ กล้องดังกล่าวจะต้องมีระบบชัตเตอร์ B โดยมากจะมีในกล้องระบบ SLR ส่วนกล้องแบบคอมแพ็กต์หรือกล้องขนาดเล็กมักจะไม่มี และขนาดของเลนส์ก็เล็กเกินไป ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพที่มีแสงน้อย กล้อง SLR มักมีเลนส์ทางยาวโฟกันมาตรฐานคือ 50 มม.

ข้อควรระวังสำหรับกล้องรุ่นใหม่ ๆ กับระบบเปิด B ก็คือ กล้องรุ่นใหม่มักมีระบบการเปิดชัตเตอร์ควบคุมด้วยไฟฟ้า ไม่ใช่ด้วยระบบกลไก เหมือนกล้องรุ่นเก่าหรือรุ่นคลาสสิกบางรุ่นที่ยังนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเปิดม่านชัตเตอร์ในกล้องรุ่นใหม่นาน ๆ ก็จะกินไฟมาก ถ่านอาจจะหมดทำให้ม่านชัตเตอร์ปิดก่อนเวลากำหนด จะต้องเผื่อเรื่องแบตเตอรี่ให้ดี และโดยเฉพาะกล้องระบบอิเล็กทรอนิกส์มักไม่ทนต่ออากาศเย็นมาก ๆ ระบบต่าง ๆ จะไม่ทำงาน และอากาศเย็นทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นกล้องรุ่นเก่าที่เป็นระบบกลไกดูจะเหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ถ่ายรูป ดาวหาง


จะเลือกใช้ฟิล์มสไลด์หรือฟิล์มเนกาทีฟดี และจะเลือกยี่ห้อใด รุ่นใด?

หัวใจสำคัญของการเลือกใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพดาวหาง คือ เลือกฟิล์มที่มีความไวแสงสูงมาก ๆ ยิ่งสูงเท่าใดก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้เวลาในการบันทึกภาพน้อยลง คุณภาพของภาพก็จะดี และก็ไม่ต้องกาศัยระบบขาตั้งกล้องที่สามารถหมุนตามดาวด้วย

โดยทั่วไปควรเลือกซื้อฟิล์มที่มีความไวแสงอย่างต่ำ ISO 400 เช่น Kodak Ektachrome Elite 400 และ Ektachrome P 1600 หรือถ้าใช้ของ Fuji ก็ต้องรุ่น Fujichrome 400 หรือ Provia 400 และ Provia 1600

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบฟิล์มขาว-ดำก็ขอแนะนำรุ่นที่ถ่ายดาวหางได้ดีที่สุด คือ Kodak's T-Max 400 ซึ่งสามารถเพิ่มค่าความไวไปเป็น 800 หรือสูงกว่า หรือบางคนอาจจะเล่น T-Max 3200 เลยก็ได้ เพียงแต่เนื้อจะหยาบมาก

ฟิล์มเนกาทีฟสี สำหรับถ่ายรูปดาวหางที่ดี ก็คือ Kodak's Royal Gold 1000, Fuji Super G 800 และ Konica's SRG 3200

สำหรับฟิล์มสไลด์ ปัจจุบันนักถ่ายรูปดาวไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก เนื่องจากฟิล์มเนกาทีฟมีพัฒนาการในเรื่องของความไวแสงดีกว่า นักถ่ายภาพดาวหลายคนเลือกใช้ฟิล์มเนกาทีฟแล้วนำมาก็อปปี้เป็นภาพสไลด์ เพื่อเก็บไว้ทำการฉายให้กับเพื่อนสมาชิก หรือใช้ในการบรรยายก็สะดวกดี


คุณภาพของเลนส์มีผลต่อภาพดาวหางหรือไม่?

คุณภาพของเลนส์หรือค่าความสว่างของเลนส์ย่อมมีผลต่อคุณภาพของภาพ ดาวหางอย่างแน่นอน จะสังเกตเห็นการกำหนดค่าความสว่างของเลนส์เป็นตัวเลข F stop ต่าง ๆ เช่น เลนส์ f/1.4 และ f/2 ตัวเลขหลัง f stop เป็นตัวกำหนดค่าความสว่างหรือรูรับแสงของเลนส์ที่สามารถเปิดหน้ากล้องได้มาก ที่สุดของเลนส์นั้น ๆ ตัวเลขยิ่งน้อย รูรับแสงจะยิ่งกว้าง ดังนั้น f stop ยึ่งมีค่ามากค่าความสว่างหรือคุณสมบัติที่เลนส์ยอมให้แสงผ่านจะลดลง ถ้าเป็นท่อกลวงไม่มีเนื้อแก้วแล้วมาวางเลย จะมีค่า f/1 ดังนั้นเลนส์ที่มีค่า f/1.4 ย่อมสว่างกว่าและดีกว่าเลนส์ f/2 นั่นเอง

ในการถ่ายภาพดวงดาวขณะเปิดหน้ากล้องกว้างสุด มักจะพบว่า ภาพดวงดาวบริเวณกรอบภาพมักจะเบลอร์ ไม่ชัดเจน ผลเกิดเนื่องจากบริเวณขอบเลนส์มีความโค้งมาก แสงที่ผ่านบริวณดังกล่าวจึงมักจะเกิดการหักเหมาก ทำให้ภาพมัว วิธีแก้ไขคือ ให้บิดรูหน้ากล้องลงมา (รูรับแสงเล็กลง) 1 ถึง 2 สต็อปเพื่อบังบริเวณขอบไว้ ซึ่งก็พอจะช่วยแก้ไขได้ แต่แนะนำให้ทำกับเลนส์ที่มีรูปรับแสงมากกว่า f/2 เท่านั้น หากมี f มาก ๆ ไม่แนะนำ เพราะจะทำให้แสงโดยรวมเข้ากล้องน้อยลงไปอีก

ส่วนกรณีภาพที่ถ่ายจากเลนส์โทเลโฟโต้ หรือจากเลนส์คุณภาพต่ำ ที่มักจะเกิดภาพฟุ้งเหมือนหมอกสีฟ้าหุ้มอยู่รอบ ๆ จุดดาวสว่างสามารถแก้ไขได้โดยการใช้ฟิลเตอร์สีเหลืองอ่อน (wratten 2B หรือ 2E) ช่วยลดแสงเรืองดังกล่าวลงได้ แต่ถ้าถ่ายด้วยฟิล์มขาว-ดำ สามารถใช้ฟิลเตอร์สีเหลืองเข้มกว่านี้ได้ เพราะจะไม่มีผลต่อสีของภาพ

ทำไมเวลาเปิดหน้ากล้องนาน ๆ (นานกว่า 1 นาที) จึงเห็นดาวเป็นขีดไม่เป็นจุด?

กล้องที่มีเลนส์มุมกว้างหรือเลนส์ 50 มม. การเปิดหน้ากล้องประมาณ 1 หรือ 2 นาที โดยตั้งกล้องอยู่กับที่บนขาตั้ง ดาวยังเป็นขีดไม่มากนัก หากดาวหางสว่างพอก็จะสามารถบันทึกภาพได้แล้ว แต่ถ้าใช้เลนส์เทเลโฟโต้ขนาด 135 มม. เปิดหน้ากล้องเพียงไม่กี่วินาที ขีดดาวจะถูกขยายให้เห็นได้ชัดทีเดียว วิธีแก้ไขเพื่อไม่ให้ดาวเป็นขีดก็คือ ใช้ขาตั้งกล้องที่มีระบบตามการเคลื่อนที่ของดาว

อย่างที่เราทราบกันดีว่าโลกของเราไม่เคยหยุดหมุน ขณะที่เราตั้งกล้องนิ่งอยู่บนโลก กล้องก็จะหมุนไปตามโลก ซึ่งทำให้เราเห็นดาวบนท้องฟ้า (ซึ่งความจริงหยุดนิ่ง) เคลื่อนที่สวนกับการเคลื่อนที่ของโลก เพื่อทำให้ภาพดาวหยุดนิ่ง จึงต้องหาระบบขาตั้งที่มีแกนหมุนตามการเคลื่อนที่ของดาวจึงจะสามารถถ่ายรูป ดาวได้ไม่เป็นขีด

วิธีการที่นักถ่ายรูปใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็คือ การนำกล้องถ่ายรูปไปขี่อยู่บนกล้องดูดาวที่มีระบบตามการเคลื่อนที่ของดวงดาว และใช้กล้องดูดาวเป็นกล้องเล็งไปในตัวเลย วิธีนี้ดวงดาวจะนิ่งเหมือนถูกจับตรึงอยู่กับที่

แต่ถ้ามีทุนทรัพย์น้อย ก็สามารถสร้างระบบตามการเคลื่อนที่ของดาวขึ้นมาเองได้ โดยอาศัยหลักการที่ว่า ดาวทุกดวงจะเคลื่อนที่รอบดาวเหนือ ซึ่งทำมุมกับประเทศไทยประมาณ 14 องศาจากพื้น ก็ให้สร้างแกนขาตั้งที่แกนทำมุมกับพื้น 14 องศาชี้ตรงไปยังดาวเหนือ และทำแท่นตั้งกล้องถ่ายรูปให้หมุนรอบแกนชี้ทิศทางเหนือ โดยใช้การหมุนตามดาวด้วยฟันเฟืองและควบคุมด้วยมอเตอร์ หรือจะใช้มือหมุนตามก็ได้ แน่นอนคุณภาพของขีดดาวอาจไม่นิ่งนัก ก็อยู่ที่ฝีมือการประดิษฐ์และการเล็งเป้าดวงดาวที่ต้องการถ่าย

ต้องการถ่ายภาพดวงหางให้ได้เต็มทั้งหัวและหาง ควรวางภาพอย่างไร?

ตามความเข้าใจของคนทั่วไป เมื่ออยากถ่ายภาพดาวหางให้ได้ทั้งส่วนหัวและส่วนหางก็มักจะจัดส่วนหัวเอาไว้ ชิดมุมด้านใดด้านหนึ่ง วิธีการดังกล่าวถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะที่บริเวณขอบภาพมักจะเกิดการหักเหของแสงมาก ภาพหัวดาวหางอาจไม่ชัดเจน หรือบางทีอาจเกิดการฟุ้งกระเจิงคล้ายเป็นหางพิเศษงอกออกมาผิดส่วน เนื่องเพราะความโค้งของเลนส์ จะทำให้ภาพดังกล่าวเสียคุณค่าไป

ปกติการถ่ายรูปดวงดาวควรจะตั้งกรอบภาพด้านใดด้านหนึ่งให้ขนานกับขอบฟ้า เพื่อสามารถอ้างอิงเรื่องทิศได้ ดาวหางเฮล-บอปป์จะปรากฏเห็นอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก การเลือกทำเลถ่ายภาพที่มีฉากหน้าประกอบ จะทำให้มีเรื่องราวพิเศษเพิ่มขึ้น และภาพที่ได้ก็จะแตกต่างจากคนอื่น

การถ่ายภาพดาวหางในเวลาหัวค่ำ ขณะยังมีแสงสนธยาหรือการถ่ายภาพดาวหางในช่วงเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ให้ระมัดระวังเรื่องการเปิดหน้ากล้องไห้ดี เพราะหากเปิดหน้ากล้องเต็มที่ แสงยามเช้าหรือแสงสนธยาก็จะเข้ามาเต็มที่ทำให้กลบภาพดาวหางไปเสียหมด ในช่วงเวลาดังเกล่าว อาจต้องเปิดให้แสงเข้าได้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

อยากทำการทดลองวิทยาศาสตร์ขณะถ่ายรูปดาวหางได้หรือไม่?

ความจริงการถ่ายรูปดาวหางให้ได้ก็ยากพอดู แต่ถ้าอยากจะทำการทดลองวิทยาศาสตร์ไปพร้อมกับการถ่ายรูป ก็มีการทดลองอยู่ 2 อย่างที่น่าสนใจคือ การทดลองถ่ายภาพสเปกตรัมของดาวหาง และการทดลองถ่ายภาพหางก๊าซ และหางฝุ่นแยกจากกันทีละภาพ

การทดลองถ่ายภาพสเปกตรัมของดาวหางทำได้ไม่ยากนัก เพียงหาแท่งปริซึมมาวางที่หน้ากล้องถ่ายรูป ให้แสงดาวหางหักเหผ่านแท่งปริซึมก่อนบันทึกบนแผ่นฟิล์ม วิธีดังกล่าวเคยมีผู้ทดลองสำเร็จมาแล้ว โดยใช้แท่งปริซึมธรรมดา แต่ผลที่ได้เป็นที่น่าสนใจมาก ทำให้สามารถวิเคราะห์ธาตุต่าง ๆ บางชนิดจากภาพถ่ายได้

ส่วนการทดลองถ่ายภาพหางก๊าซอย่างเดียวและหางฝุ่นอย่างเดียว ก็ต้องอาศัยฟิลเตอร์กรองแสงเข้าช่วย ถ้าจะถ่ายให้เห็นเฉพาะหางก๊าซสีน้ำเงินต้องใส่ฟิลเตอร์ wratten 47A หากต้องการถ่ายให้เห็นเฉพาะหางฝุ่นสีขาว ให้ใส่ฟิลเตอร์ wratten 21 ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายกล้องทั่วไป

เมื่อถ่ายภาพดาวหางได้แล้วควรนำไปล้างฟิล์มที่ไหน?

เรื่องการส่งฟิล์มไปล้าง กลายเป็นตำนานปวดใจของบรรดานักถ่ายรูปดวงดาวหลายคนมาแล้ว โดยเฉพาะมักจะเกิดกับผู้ที่ถ่ายโดยฟิล์มสไลด์ พอล้างกลับมากลายเป็นรูปถูกตัดกลางทุกรูปเลย รูปที่ถ่ายมาท่ามกลางความหนาวเหน็บกว่าจะได้แต่ละรูปใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่มาถูกตัดเหมือนถูกตัดใจ ที่เป็นเช่นนี้เพราะช่วงล้างฟิล์มเขาแยกไม่ออกว่าเฟรมของแต่ละภาพอยู่ที่ใด เนื่องจากฉากหลังของภาพดวงดาวมักจะเป็นสีดำทั้งหมด มันเลยกลืนกันไปตลอดทั้งม้วน

ทางแก้ไขก็คือ ทุกครั้งที่ใส่ม้วนฟิล์มใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสไลด์ หรือเนกาทีฟ ให้ถ่ายภาพอะไรก็ได้ในแสงปกติ หรือแสงแฟลช สัก 2-3 ภาพเพื่อใช้เป็นเฟรมอ้างอิง เวลาช่วงล้างฟิล์มออกมาแล้วจะได้จัดลำดับภาพที่เหลือได้ถูก แต่ต้องขอย้ำว่า รูปที่เหลือใช้ได้นะ ไม่ใช่รูปเสีย อีกวิธีหนึ่งก็คือเวลาส่งสไลด์ไปล้างให้เน้นย้ำช่างล้างว่าไม่ต้องเมาท์ หรือไม่ต้องใส่กรอบ และไม่ต้องตัดด้วย ให้ล้างออกมาเป็นม้วนเลย แล้วเรามาแยกตัดเอา วิธีแนี้แน่นอนที่สุด

ข้อสำคัญเวลาส่งฟิล์มประเภทนี้ให้กับร้านถ่ายรูป ควรเลือกร้านที่ไว้ใจได้และคุ้นเคย เอาใจใส่งานของเราเป็นพิเศษ อาจต้องลองผิดลองถูกดูในระยะแรก แล้วก็จะรู้ว่ามีร้านถ่ายรูปหลายร้านที่มีฝีมือที่น่าพอใจ

นอกจากการบันทึกภาพดาวหางด้วยวิธีถ่ายรูปแล้ว วิธีอื่นที่ดีกว่ามีไหม?

ปัจจุบันมีการนำเอาระบบการบันทึกภาพด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกกันว่าการบันทึกภาพด้วย CCD (charge-couple device) มาใช้กันมากขึ้น

เมื่อ 20 ปีก่อน เคยมีการนำ CCD มาบันทึกภาพดาวหาง แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก ภาพดิจิทัลของดาวหางดูไม่สวยเท่ากับภาพที่ถ่ายจากกล้องถ่ายรูป

แต่ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ให้ความสนใจการบันทึกภาพด้วย CCD มากกว่าภาพถ่าย เพราะภาพจาก CCD สามารถแสดงสิ่งที่ตาหรือภาพถ่ายปกติมองไม่เห็นได้ ช่วยให้การศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร์ก้าวหน้าไปมาก และมีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นไม่น้อยที่สนใจการบันทึกภาพ CCD เพราะมีความสะดวกสบายกว่าการใช้กล้องถ่ายรูปหลายประการ

ที่สำคัญคือ CCD มีระบบตามดาวอัตโนมัติที่แม่นยำกว่าการตามดาวโดยวิธีหมุนกล้องตาม โดยเฉพาะในช่วงที่ดาวหางมีการเคลื่อนที่เร็ว อย่างเช่นดาวหางเฮียกุตาเกะในช่วงเดือนมีนาคมเคลื่อนที่เร็วมาก การใช้ CCD สะดวกกว่ากล้องถ่ายรูปมาก และภาพจาก CCD ก็ยังสามารถเก็บไว้ในแผ่นดิสก์ได้ แถมยังสามารถแสดงผลให้ผู้คนชมได้จากหน้าจอมอนิเตอร์อีกด้วย

วิทยาการ CCD กำลังมีบทบาทสำคัญในวงการดาราศาสตร์ ถึงกับมีการแยกสายการศึกษาออกมาเป็น CCD Astronomy ทีเดียว

เห็นโฆษณาขายกล้องโทรทรรศน์ตามหนังสือพิมพ์ กำลังขยายตั้งหลายร้อยเท่า ราคาอันละ 6,000 บาท จะซื้อกล้องแบบนี้ดีไหม?

เรามักเห็นกล้องโทรทรรศน์วางขายตามห้างอยู่บ่อย ๆ หรือลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ มักมีขนาดหน้ากล้องประมาณ 1 นิ้วเศษ ๆ และโฆษณาว่ากำลังขยายห้าร้อยหกร้อยเท่า ราคาหลักพัน แถมขาตั้งอีกต่างหาก กล้องพวกนี้มีคุณภาพตั้งแต่แย่จนถึงแย่มาก ไม่แนะนำให้ซื้อ

มีหลักเกณฑ์พื้นฐานง่าย ๆ ในการดูโฆษณากล้องอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าโฆษณาใดเอากำลังขยายมาเป็นตัวอวดสรรพคุณ ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็นกล้องคุณภาพต่ำ


อยากเห็นวงแหวนดาวเสาร์ ต้องใช้กล้องขนาดไหนจึงจะมองเห็น?

วงแหวนดาวเสาร์ไม่ใช่สิ่งลึกลับอะไรเลยสำหรับนักดูดาว เพราะเพียงแค่กล้องสองตากำลังขยาย 10 เท่าก็มองเห็นแล้ว แต่ถ้าจะเห็นชัดเจนก็ต้องสัก 20 เท่าขึ้นไป

กล้องดูดาวที่ใหญ่ที่สุดคือกล้องอะไร อยู่ที่ไหน?

อยากทราบกล้องแบบไหนหล่ะ?

กล้องที่ใช้งานในย่านแสงที่มนุษย์มองเห็น
กล้องเคก ตั้งอยู่ที่ภูเขามานาเคอา ฮาวาย เส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากล้อง 10 เมตร
กล้องโทรทรรศน์วิทยุ
หอสังเกตการณ์เอรีซีโบ อยู่ที่ประเทศเปอร์โตริโก จานรับสัญญาณกว้าง 305 เมตร
กล้องอินฟราเรด
กล้องไอโซ ขององค์การอวกาศยุโรป
กล้องอัลตราไวโอเลต
กล้องอียูวีอี (Extreme Ultraviolet Explorer) ขององค์การนาซา
กล้องรังสีเอกซ์
กล้องไอน์สไตน์ ขององค์การนาซา
กล้องรังสีแกมมา
หอดูดาวรังสีแกมมาเฟรดลอว์เรนซ์วิปเพิล (Fred Lawrence Whipple Gamma-Ray Observatory (SAO) )
กล้องรังสีคอสมิก
The High Resolution Fly's Eye Cosmic Ray Detector HiRes

เห็นนักดูดาวหลายคนชอบใช้กล้องสองตาดูดาว สงสัยจริง ๆ ว่ากล้องแค่นั้นจะไปเห็นอะไร?

กล้องสองตาหรือกล้องส่องทางไกล ถือว่าเป็นคู่หูตัวจริงของนักดูดาว เห็นกล้องเล็ก ๆ แค่นั้นก็เถอะ ด้วยกำลังขยายเพียง 10-12 เท่าของกล้องสองตา ก็เห็นสิ่งต่าง ๆ บนท้องฟ้าได้ชัดเจนกว่าที่กาลิเลโอเคยใช้กล้องดูดาวกำลังขยาย 32 เท่าเสียอีก กล้องขนาดเท่านี้ เพียงพอที่จะมองเห็นเนบิวลา กระจุกดาว และดาราจักรได้หลายสิบแห่ง มองเห็นข้างขึ้นข้างแรมของดาวศุกร์ได้ เห็นหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์นับร้อยนับพันหลุม เห็นบริวารของดาวพฤหัสบดีได้สี่ดวง แม้แต่วงแหวนดาวเสาร์ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับกล้องสองตา







วิมุติ วสะหลาย

ที่มา : http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq_telescope.html

ปฏิทินมายาทำนายว่า ปี ค.ศ. 2012 เป็นวาระสุดท้ายของโลกจริงหรือ?

ปฏิทิน มายามีหลายแบบ แบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปี ค.ศ. 2012 คือแบบที่เรียกกันว่า ปฏิทินรอบยาว (long count) ระบุวันด้วยชุดของตัวเลข ตัวเลขชุดนี้แทนวันที่ได้ยาวนาน 5,126 ปี เทียบกับวันที่ตามระบบปฏิทินสากลตั้งแต่ วันที่ 11 สิงหาคม 3114 ปีก่อนคริสต์กาลไปจนสุดจำนวนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012

การสิ้นสุดของตัวเลขปฏิทินมายา หรือการครบจำนวนสูงสุดที่กำหนดไว้ในระบบนับวันระบบใดระบบหนึ่ง จะแสดงถึงการสิ้นสุดของโลกเชียวหรือ

คอมพิวเตอร์ สมัยก่อนก็มีระบบปฏิทินในตัวเครื่องที่แสดงวันเดือนปีได้จนถึงสิ้น ค.ศ. 1999 อันเป็นที่รู้จักกันในนามของปัญหา Y2K แต่เมื่อสิ้นสุด ค.ศ. 1999 โลกก็ไม่ได้แตกระบบนับวันของคอมพิวเตอร์

ระบบบอกพิกัดจีพีเอส ก็มีระบบนับสัปดาห์เป็นของตัวเอง ซึ่งตัวเลขจะสุดจำนวนที่วันที่ 21 สิงหาคม 2542 ทำนองเดียวกับ Y2K ของคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อสิ้นวันที่ 21 สิงหาคม 2542 โลกก็ไม่ได้แตกตามระบบจีพีเอส

ทำนองเดียวกัน โลกก็จะไม่แตกสลายเพราะว่าสุดตัวเลขปฏิทินมายา หลังวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ปฏิทินมายาก็จะเริ่มนับรอบใหม่

Planet X คืออะไร?

เมื่อครั้งที่นักดาราศาสตร์รู้จักดาว เคราะห์แปดดวง ยังไม่พบดาวพลูโต นักดาราศาสตร์พบว่าการโคจรของดาวเนปจูนมีความผิดปรกติเหมือนมีแรงรบกวนจาก วัตถุขนาดใหญ่อีกดวงหนึ่งคอยดึงดูดรบกวนอยู่ วัตถุนี้อาจเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อีกดวงที่ยังมองไม่เห็น จึงมีความพยายามค้นหาดาวเคราะห์ลึกลับนี้โดยตั้งชื่อไว้ล่วงหน้าว่า ดาวเคราะห์เอกซ์ (Planet X)

แม้เวลาต่อมาจะมีการค้นพบดาวพลูโต ปัญหานี้ก็ยังไม่คลี่คลาย เนื่องจากดาวพลูโตเล็กและเบาเกินกว่าจะมีผลต่อการโคจรของดาวเนปจูน การค้นหาจึงดำเนินต่อไป

ต่อมา หลังจากที่มียานอวกาศไปสำรวจดาวยูเรนัสกับเนปจูนในระยะใกล้ จึงพบว่าความผิดปกติของวงโคจรดังที่เคยสำรวจจากโลกนั้นเป็นเพียงความผิดพลาด จากการวัด ไม่ใช่ความผิดปรกติของวงโคจรแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามการค้นหาวัตถุใหม่นอกวงโคจรดาวเนปจูนก็ยังมีอยู่ต่อไป และนักดาราศาสตร์ก็ได้ค้นพบวัตถุอีกหลายดวง แต่ทุกดวงล้วนเป็นวัตถุเล็กคล้ายดาวพลูโตมากกว่า

มีการค้นพบดาวเคราะห์เอกซ์แล้วหรือยัง?

นักดาราศาสตร์ได้ พบค้นพบวัตถุดวงใหม่ที่อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนมาแล้วหลายดวง หลายครั้งที่มีการค้นพบวัตถุใหม่พ้นวงโคจรของดาวเนปจูนที่มีขนาดใหญ่ ก็มักเรียกกันให้ครึกโครมว่าเป็นดาวเคราะห์เอกซ์ แต่หลังจากการวิเคราะห์สมบัติด้านต่าง ๆ แล้วก็พบว่าไม่มีดวงใดที่มีสมบัติเข้าข่ายดาวเคราะห์ จึงถือได้ว่าปัจจุบันยังไม่พบดาวเคราะห์เอกซ์


Planet X มีจริงหรือไม่?

แม้ปัจจุบันจะยังไม่การพบดาว เคราะห์เอกซ์ แต่นักดาราศาสตร์หลายคนก็เชื่อว่าน่าจะมี หลักฐานหนึ่งที่ทำให้เชื่อเช่นนั้นไม่ใช่เรื่องวงโคจรดาวเนปจูนที่ผิดปกติ (ซึ่งความจริงแล้วปกติ) แต่มาจากการกระจายตัวของวัตถุขนาดเล็กคล้ายดาวเคราะห์น้อยที่กระจายอยู่นอก วงโคจรของดาวเนปจูนหรือที่เรียกกันว่าวัตถุพ้นดาวเนปจูน นักดาราศาสตร์พบว่าที่ระยะประมาณ 50 หน่วยดาราศาสตร์ จำนวนของวัตถุเหล่านี้ได้ลดลงอย่างกระทันหัน จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากอิทธิพลของวัตถุขนาดใหญ่โคจรอยู่นอกระยะนั้นออก ไป เป็นไปได้ว่าวัตถุดวงนี้อาจมีขนาดใหญ่พอที่จะจัดว่าเป็นดาวเคราะห์ได้ นักดาราศาสตร์ได้คำนวณไว้ว่าดาวเคราะห์เอกซ์ดวงนี้น่าจะมีขนาดพอ ๆ กับโลกของเรา

Planet X เป็นดาวเคราะห์ล้างโลกจริงหรือ?

ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีวงโคจรของตัวเอง มีรัศมีวงโคจรต่างกัน วงโคจรมีเสถียรภาพดี ไม่ใช่สิ่งที่จะมาชนกันได้ง่าย ๆ

ตาม ความรู้และข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์มีอยู่ เชื่อว่าหากมีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ในระบบสุริยะจริง (ซึ่งจะได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์เอกซ์) ดาวเคราะห์ดวงนี้ก็น่าจะอยู่พ้นวงโคจรของดาวเนปจูนออกไปอีก แล้วดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรใหญ่โตอยู่ไกลปืนเที่ยงขนาดนั้นจะมาชนโลกได้อย่าง ไร

ดาวเคราะห์เอกซ์คือสิ่งที่นักดาราศาสตร์ถวิลหา และการค้นพบจะเป็นข่าวน่ายินดี หากวันหนึ่งคุณเห็นข่าวพาดหัวว่าค้นพบดาวเคราะห์เอกซ์แล้ว ก็อย่าไปแตกตื่นให้อายใครเขา


ดาวนิบิรุ มีจริงหรือไม่?

นิบิรุ เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งของบาบิโลน ส่วน ดาวนิบิรุ เป็นดาวตามทฤษฎีของ เซชาเรีย ซิตชิน ซึ่งอ้างว่าถอดความมาจากจารึกของชาวสุเมเรียน ทฤษฎีนี้กล่าวว่าดาวนิบิรุเป็นดาวที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีอารยธรรมอาศัยอยู่ และเคยมาเยือนโลกเมื่อนานมาแล้ว

แม้เรื่องดาวนิบิรุจะได้รับ ความนิยมในหมู่ผู้ชื่นชอบเรื่องลึกลับ เรื่องจานบิน เรื่องมนุษย์ต่างดาว แต่เนื่องจากทฤษฎีนี้มีหลักฐานอ่อนมาก และตั้งอยู่บนจินตนาการมากกว่าเหตุผล เรื่องนี้จึงไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้างในวงการวิทยาศาสตร์รวมถึงนัก วิชาการด้านสุเมเรียนด้วย


ดาวนิบิรุ กับ Planet X เป็นดวงเดียวกันหรือไม่?

บทความ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับโลกแตกปี 2012 มักกล่าวว่า นิบิรุ และ ดาวเคราะห์เอกซ์ (Planet X) เป็นวัตถุดวงเดียวกัน แต่ความจริงต่างกันโดยสิ้นเชิง ดาวเคราะห์เอกซ์เป็นดาวเคราะห์ที่ยังหาไม่พบ แต่เชื่อว่ามีจริง และมีการค้นหาอยู่ ส่วนดาวนิบิรุ เป็นดาวในตำนานที่ยังขาดหลักฐานที่ดีพอที่จะบอกได้ว่ามีอยู่จริง


พายุสุริยะคืออะไร?

พายุสุริยะคือกระแสของอนุภาคพลังงาน สูงที่พัดมาจากดวงอาทิตย์ด้วยปริมาณและความเร็วสูงกว่าระดับปกติ อนุภาคนี้มีทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอน เป็นตัวการทำให้เกิดแสงเหนือใต้ และพายุแม่เหล็ก ซึ่งในกรณีที่รุนแรงก็อาจส่งผลต่อดาวเทียม ยานอวกาศ และระบบสายส่งบนโลก


พายุสุริยะมีผลกระทบต่อโลกอย่างไร?

ปกติพายุสุริยะจะไม่ ส่งผลโดยตรงต่อโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลก เนื่องจากโลกมีบรรยากาศและสนามแม่เหล็กคุ้มกัน มีเพียงนักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอวกาศเท่านั้นที่อาจได้รับ อันตราย ทั้งจากพายุสุริยะและรังสีจากดวงอาทิตย์

ในอดีต พายุสุริยะเคยสำแดงฤทธิ์เดชให้เห็นแล้วหลายครั้ง เช่น ใน ค.ศ. 1859 พายุสุริยะทำให้สายโทรเลขลัดวงจรจนทำให้เกิดเพลิงไหม้หลายแห่งในยุโรปและ อเมริกา ส่วนใน พ.ศ. 2532 พายุสุริยะก็เคยทำให้หม้อแปลงของไฟฟ้าระเบิดจนทำให้ไฟดับทั่วทั้งจังหวัด ควิเบกของแคนาดามาแล้ว นอกจากนี้ดาวเทียมและยานอวกาศที่อยู่ในอวกาศก็อาจเสียหายจากพายุสุริยะได้ ในอดีตเคยมีดาวเทียมหลายดวงเสียหายจากเหตุการณ์นี้มาแล้ว เนื่องจากปัจจุบันชีวิตประจำวันของผู้คนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอวกาศมาก ทั้งโทรศัพท์ โทรทัศน์ การกระจายเสียงวิทยุ ระบบบอกพิกัด ฯลฯ ดังนั้นหากมีพายุสุริยะมาทำให้ดาวเทียมเหล่านี้เสียหายไป ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างแน่นอน


ในปี ค.ศ. 2012 จะเกิดพายุสุริยะโจมตีโลกจริงหรือ?

จริง

พายุ สุริยะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา มีความชุกผันแปรขึ้นลงเป็นคาบ คาบละประมาณ 11 ปี คาบที่ชัดเจนนี้ทำให้นักดาราศาสตร์พยากรณ์ได้ว่าช่วงสูงสุดหรือต่ำสุดของ วัฏจักรสุริยะจะเกิดขึ้นเมื่อใด ช่วงสูงสุดของวัฏจักรที่จะเกิดในครั้งถัดไปคาดว่าจะอยู่ในช่วงกลาง ค.ศ. 2013

ช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะกินเวลายาวนานข้ามปี ดังนั้นแม้ช่วงสูงสุดจะอยู่ใน ค.ศ. 2013 แต่พายุสุริยะก็เริ่มจะกระหน่ำโลกตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 2012 แล้ว

แม้ ช่วงปี 2013 จะอยู่ในช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะ แต่พายุสุริยะที่จะเกิดขึ้น ก็ไม่ได้รุนแรงมากไปกว่าที่เคยเกิดขึ้นในรอบก่อน ซึ่งเกิดในราวปี ค.ศ. 2000, 1989, และก่อนหน้านั้น ความจริงมีแนวโน้มว่าช่วงสูงสุดของวัฏจักรที่จะมาถึงในปี 2013 จะอ่อนกำลังกว่าวัฏจักรก่อนหน้านี้เสียด้วยซ้ำ

สนามแม่เหล็กโลกสลับขั้วได้จริงหรือ?

มนุษย์ยุคปัจจุบัน ยังไม่เคยมีใครเห็นโลกสลับขั้วแม่เหล็ก แต่หลักฐานทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าการสลับขั้วแม่เหล็กเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลาย ครั้งตลอดประวัติศาสตร์ของโลก


สนามแม่เหล็กโลกกำลังอ่อนกำลังลงจริงหรือ?

จริง

นัก วิทยาศาสตร์พบว่า นับจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ความเข้มสนามแม่เหล็กโลกได้อ่อนกำลังลงไปประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะความเข้มสนามแม่เหล็กโลกผันแปรตลอดเวลาเป็นเรื่องปกติ ความจริงสนามแม่เหล็กโลกในขณะนี้ยังเข้มกว่าความเข้มเฉลี่ยของสนามแม่เหล็ก โลกในช่วงหนึ่งล้านปีที่ผ่านมาถึงสองเท่า


ปี 2012 จะเกิดปรากฏการณ์ pole shift จริงหรือ?

pole shift คือการเลื่อนขั้วแกนหมุนของโลก ทำให้ขั้วเหนือและใต้ของโลกเปลี่ยนตำแหน่งไป เกิดขึ้นจากการที่สัญฐานของโลกไม่กลมสมบูรณ์ ปรากฏการณ์นี้เชื่อว่าเคยเกิดขึ้นจริงกับโลก รวมถึงดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ดวงอื่นด้วย

ไม่มี หลักฐานใดที่บ่งชี้ว่าจะเกิดปรากฏการณ์นี้ในปี 2012 และแม้จะเกิดก็จะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตเนื่องจากการเลื่อนนี้เกิดขึ้นในอัตรา ที่เชื่องช้ามาก

ความไม่แน่นอนของขั้วโลกยังมีอีกหลายแบบ เช่น ขั้วแม่เหล็กโลกเลื่อนตำแหน่ง การเปลี่ยนตำแหน่งของขั้วอันเกิดจากการเลื่อนของแผ่นทวีป การเปลี่ยนตำแหน่งของดาวเหนืออันเกิดจากการส่ายของขั้วโลก แต่การเปลี่ยนแปลงจากสาเหตุเหล่านี้มีชื่อเรียกอย่างอื่น ไม่ได้เรียกว่า pole shift


ปี 2012 สนามแม่เหล็กโลกจะเปลี่ยนตำแหน่งจริงหรือ?

จริง แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ใช่กำลังจะเกิดใน ค.ศ. 2012 หากแต่เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้แต่ตอนนี้ก็เกิด

นัก วิทยาศาสตร์ทราบว่าขั้วแม่เหล็กโลกมีการเคลื่อนที่ตั้งแต่ที่ค้นพบขั้วเหนือ แม่เหล็กโลกเมื่อกว่าศตวรรษก่อนแล้ว การเคลื่อนที่นี้เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 1 องศาต่อ 1 ล้านปีหรืออาจเร็วกว่านั้น

การ สำรวจในช่วงไม่กี่ปีมานี้พบว่า ขั้วเหนือแม่เหล็กโลกเคลื่อนที่เร็วขึ้น แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าโลกใกล้จะสลับขั้วหรือกำลังวิปริต เพราะอัตราการเคลื่อนที่มีขึ้นมีลงอยู่เสมอ


โลกสลับขั้วแม่เหล็กครั้งล่าสุดเมื่อใด และจะเกิดครั้งต่อไปเมื่อใด?

ครั้งล่าสุดที่โลกสลับขั้วแม่เหล็กเกิดขึ้นเมื่อราว 780,000 ก่อน

การ พยากรณ์ว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อไหร่ หมายความนักวิทยาศาสตร์จะต้องเข้าใจกลไกการสลับขั้วแม่เหล็กดีพอสมควร หรือการสลับขั้วแม่เหล็กโลกในอดีตมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่คาดการณ์ได้ เช่นมีคาบแน่นอน หรือเกิดขึ้นในเวลาที่สอดคล้องกับเหตุการณ์อื่น แต่ปัจจุบันยังขาดทั้งสองอย่าง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสนามแม่เหล็กโลกเกิดจากอะไร ไม่ทราบว่าสลับขั้วได้อย่างไร นอกจากนี้บันทึกการสลับขั้วในอดีตก็ไม่มีรูปแบบเด่นชัดพอจะคาดการณ์ได้ ไม่มีคาบที่แน่นอน บางช่วงสนามแม่เหล็กโลกอาจคงทิศอยู่นานถึงหลายสิบล้านปี บางครั้งอาจคงทิศได้เพียงไม่กี่ร้อยปี ความผันแปรอย่างมหาศาลนี้ทำให้แทบระบุไม่ได้เลยว่า โลกจะถึงกาลสลับขั้วแม่เหล็กอีกครั้งเมื่อใด

ในปี ค.ศ. 2012 โลกจะสลับขั้วสนามแม่เหล็กจริงหรือ?

แม้ นักวิทยาศาสตร์จะเชื่อว่าโลกจะสลับขั้วแม่เหล็กอีกอย่างแน่นอน แต่ก็ยังไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด อย่าว่าแต่จะให้ระบุปีที่เกิด แม้แต่จะให้ระบุว่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษใดก็ยังยาก เนื่องจากจังหวะการเกิดปรากฏการณ์นี้ในอดีตผันแปรมาก

นักโลกแตก นิยมมักโยงเรื่องวัฏจักรของดวงอาทิตย์ซึ่งจะถึงช่วงสูงสุดในราวปี 2012 เข้ากับการสลับขั้วแม่เหล็กโลก นั่นเป็นการโยงเหตุการณ์ที่ไร้เหตุผลอย่างมาก ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าการสลับขั้วแม่เหล็กโลกมีความสัมพันธ์กับวัฏจักร ของดวงอาทิตย์


หากเกิดการสลับขั้วแม่เหล็กโลกจริง จะทำให้เกิดหายนะถึงขั้นผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากหรือไม่

เนื่อง จากสนามแม่เหล็กโลกมีบทบาทสำคัญในการเป็นเกราะคุ้มกันรังสีอันตรายจากห้วง อวกาศ ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่า หากเกิดความผิดปกติของสนามแม่เหล็กโลก เช่นสนามแม่เหล็กหายไป ก็ย่อมส่งผลต่อสรรพชีวิตบนพื้นโลกอย่างแน่นอน

ผลกระทบที่ว่านี้จะรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บล้มตายหรือเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หรือไม่? ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น

จาก การเทียบบันทึกการสลับขั้วแม่เหล็กโลกในอดีตซึ่งเกิดมาแล้วหลายครั้ง เราไม่พบว่ามีความสอดคล้องกับเวลาที่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เคยเกิด ขึ้นบนโลก นี่น่าจะพอเบาใจได้ในระดับหนึ่งว่า หากโลกสลับขั้วแม่เหล็กในช่วงนี้ ก็คงไม่ถึงขั้นคอขาดบาดตาย

งาน วิจัยด้านสนามแม่เหล็กโลกเมื่อไม่นานมานี้เผยว่าสนามแม่เหล็กโลกซับซ้อนกว่า ที่คิด โลกมิใช่มีเพียงแม่เหล็กแท่งใหญ่แท่งเดียว แต่ยังมีแม่เหล็กขนาดย่อมกระจายอยู่หลายส่วนทั่วโลก ช่วงที่มีการสลับขั้วแม่เหล็ก แม่เหล็กตัวใหญ่จะอ่อนกำลังลงไปมากจนเผยให้เห็นอิทธิพลของแม่เหล็กตัวย่อย ในช่วงเวลาดังกล่าวโลกจะมีขั้วแม่เหล็กเหนือใต้หลายแห่งบนโลก สนามแม่เหล็กโลกจะซับซ้อนยุ่งเหยิงมาก แน่นอนว่าช่วงนี้เราอาจใช้เข็มทิศไม่ได้ สัตว์บางชนิดที่ต้องพึ่งพาสนามแม่เหล็กโลกก็อาจประสบความยากลำบาก แต่เราก็ยังคงปลอดภัยจากสนามแม่เหล็กย่อยที่ยังคงมีอยู่ นอกจากนี้บรรยากาศที่หนาแน่นของโลกก็ยังคงทำหน้าที่เป็นเกราะกำบังรังสีให้ สิ่งมีชีวิตได้อยู่ ความจริงบรรยากาศโลกเป็นเกราะกันรังสีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสนามแม่เหล็ก โลกเสียด้วยซ้ำ

ปัจจุบันแกนหมุนของโลกเอียงมากขึ้นเป็น 24 องศาจริงหรือ?

ไม่จริง ปัจจุบันแกนโลกยังคงเอียง 23.44 องศา

อย่าง ไรก็ตาม แกนหมุนของโลกมีการเปลี่ยนแปลงเสมอในช่วงแคบ ๆ 22.1-24.5 องศาโดยมีคาบประมาณ 42,000 ปี ดังนั้นถ้าจะมองให้ละเอียด ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงจริง แต่เปลี่ยนแปลงช้ามาก และยิ่งกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของมุมเอียงขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง นั่นคือ แกนโลกกำลังเอียงน้อยลง ไม่ใช่มากขึ้น


ปี 2012 สนามแม่เหล็กโลกจะเปลี่ยนตำแหน่งจริงหรือ?

จริง แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ใช่กำลังจะเกิดใน ค.ศ. 2012 หากแต่เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้แต่ตอนนี้ก็เกิด

นัก วิทยาศาสตร์ทราบว่าขั้วแม่เหล็กโลกมีการเคลื่อนที่ตั้งแต่ที่ค้นพบขั้วเหนือ แม่เหล็กโลกเมื่อกว่าศตวรรษก่อนแล้ว การเคลื่อนที่นี้เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 1 องศาต่อ 1 ล้านปีหรืออาจเร็วกว่านั้น

การ สำรวจในช่วงไม่กี่ปีมานี้พบว่า ขั้วเหนือแม่เหล็กโลกเคลื่อนที่เร็วขึ้น แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าโลกใกล้จะสลับขั้วหรือกำลังวิปริต เพราะอัตราการเคลื่อนที่มีขึ้นมีลงอยู่เสมอ


ที่มา : http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq_doomsday.php