05 กันยายน 2553

มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย 10 อันดับ

สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็มีอยู่หลายมหาลัย แต่จะมีมหาลัยฯอะไรบ้างที่เข้าขั้นเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มาดูกัน

อันดับ 10 สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้า

24 เมษายน พ.ศ. 2514 แบ่งออกเป็น 3 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตนนทบุรี วิทยาเขตพระนครเหนือ และวิทยาเขตธนบุรี ต่อมาได้ยกฐานะและแยกแต่ละวิทยาเขตเป็นสถาบันอุดมศึกษาอิสระต่อกัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


อันดับ 9 มหาวิทยาลัยรามคำแหง


"รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ"

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 "มหาวิทยาลัยรามคำแหง " ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาแบบตลาดวิชา โดยมีคณะแรกตั้ง คือ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์

อันดับ 8 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"

12 มีนาคม พ.ศ. 2511 มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของ ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยว่า " มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ " ตามพระนามฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์

อันดับ 7 มหาวิทยาลัยขอนแก่น


"วิทยา จริยา ปัญญา"

25 มกราคม พ.ศ. 2509 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติ สถาปนาสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ "มหาวิทยาลัยขอนแก่น " โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ เป็นคณะแรกตั้ง

อันดับ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


"อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" (บัณฑิตย่อมฝึกฝนตนเอง)

21 มกราคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย ได้แก่ " มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ " โดยมีคณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ เป็นคณะแรกตั้ง

อันดับ 5 มหาวิทยาลัยศิลปากร


"Arts longa vita brevis" (ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น)

12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 "โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม" ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น " มหาวิทยาลัยศิลปากร" โดยมีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์)

อันดับ 4 มหาวิทยาลัยมหิดล

"อตฺตนนํ อุปมํ กเร" (พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง)

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 มีการแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ต่อมาได้รับพระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่ ว่า " มหาวิทยาลัยมหิดล "


อันดับ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

"ศาสตร์แห่งแผ่นดิน"

2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 "โรงเรียนช่างไหม" ได้รับการพัฒนาการเรียนการสอนจนสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ " เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านการเกษตรแห่งแรกของไทย โดยมีคณะเกษตรศาสตร์ คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และ คณะสหกรณ์ เป็นคณะแรกตั้ง ในปัจจุบันคือ คณะเกษตร คณะประมง คณะวนศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และ คณะเศรษฐศาสตร์

อันดับ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม"

27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ริเริ่มก่อตั้ง "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)" ขึ้น เป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย วิชาเริ่มแรกที่เปิดสอนมี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต ซึ่งสอนวิชากฎหมายเป็นหลัก และ วิชาการบัญชี ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น " มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

อันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"เสาหลักของแผ่นดิน"

26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ขึ้นเป็น " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยมี 4 คณะแรกตั้ง ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ที่มา : unigang






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น