04 กรกฎาคม 2552

กบหัวใหญ่โคราช กบสายพันธุ์ใหม่ของโลก

กบหัวใหญ่โคราช กบสายพันธุ์ใหม่ของโลก




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, หนังสือพิมพ์มติชน
หลังจากที่มีการค้นพบ "กบ" สายพันธุ์ใหม่ของโลก ในพื้นที่ป่าสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา หรือโคราช ก่อนจะตั้งชื่อกบพันธุ์ใหม่ว่า "กบหัวใหญ่โคราช" เพื่อให้เกียรติแก่จังหวัดที่ค้นพบ ทำให้คนอยากรู้จัก "กบหัวใหญ่โคราช" มากขึ้น วันนี้กระปุกจึงนำเรื่องราวของ "กบหัวใหญ่โคราช" มาฝากกันด้วยค่ะ

"กบหัวใหญ่โคราช" หรือ "โคราช บิ๊กเฮดฟอร์ก" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าLimnonectes megastomiasMcLeodถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่บริเวณลำห้วยภายในป่าดงดิบสถานี วิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ตำบลภูหลวง อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ปีพ.ศ.2546ซึ่งค้นพบโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับนายเดวิดแม็กลอร์ดนักศึกษามหาวิทยาลัยแคนซัสสหรัฐอเมริกาก่อนจะได้ รับการยืนยันและได้รับการตีพิมพ์เป็นกบพันธุ์ใหม่ของโลก ในวารสารZOOTAXA เมื่อวันที่ 28มิถุนายน พ.ศ.2551จากนั้นทางทีมวิจัยได้ตั้งชื่อสามัญว่า "กบหัวใหญ่โคราช"หรือ"กบปากใหญ่โคราช"ให้เป็นเกียรติแก่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดที่ค้นพบกบชนิดนี้เป็นแห่งแรก




ลักษณะทั่วไปของ "กบหัวใหญ่โคราช" จะมีสีดำ ลำตัวค่อนข้างใหญ่ ยาว ส่วนของหัวค่อนข้างกว้าง แตกต่างจากกบชนิดอื่นๆ จึงเป็นที่มาของชื่อ "กบหัวใหญ่"บน หัวระหว่างตาทั้งสองข้างมีรอยพับของแผ่นหนังพาดขวางด้านท้ายของตาหรือตรงขอบ ท้ายของแพบสีดำและมีรอยพับของผิวหนังจากด้านท้ายตาลงไปที่ส่วนต้นของขาหน้า เพศผู้มีหัวใหญ่กว่าเพศเมียและมีโครงสร้างคล้ายฟันเขี้ยวอยู่ที่ส่วนปลายของ ขากรรไกรล่างผิวหนังส่วนต้นของลำตัวค่อนข้างเรียบมีตุ่มเล็กกระจายอยู่บ้าง แต่จะกระจายหนาแน่บริเวณท้ายลำตัวและขนขาหลังส่วนยอดของตุ่มบางตุ่มเป็นสี ขาวขาหน้าและขาหลังสั้นแต่ใหญ่นิ้วตีนหน้าไม่มีแผ่นหนังระหว่างนิ้วส่วนนิ้ว ตีนหลังมีแผ่นหนังเต็มความยาวนิ้ว

นอกจากนี้ "กบหัวใหญ่โคราช"ยังมีฤดูผสมพันธุ์ที่แตกต่างจากกบชนิดอื่นๆคือมักจะสืบ พันธุ์ในช่วงปลายฤดูฝนที่น้ำในลำห้วยนิ่งแล้วเพื่อไม่ให้กระแสน้ำหลากไหลพัด เอาไข่หรือลูกอ๊อดลอยหายไปตามกระแสน้ำขณะที่กบนาจะสืบพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝนส่วน ลูกอ๊อดจะมีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่กว่าลูกอ๊อดทั่วไปด้วย โดยจะมีลำตัวแบนมีสีน้ำตาลบนหลังมีปื้นสีน้ำตาลเข้มกระจาย หางยาวและมีกล้ามเนื้อแข็งแรงแผ่นครีบหางใหญ่ ปากอยู่ทางด้านล่างของหัวช่องปากใหญ่ตุ่มฟันในอุ้งปากมีจำนวนแถวและลักษณะ การเรียงตัวเป็นสูตรI:1+1/1+1:Iขอบของจะงอยปากบนและจะงอยปากล่างมีรอยหยัก

"กบหัวใหญ่โคราช" มักจะซ่อนตัวในเวลากลางวันใต้กองใบไม้ที่ทับถม หรือซอกหินตามลำห้วย และจะออกหากินในเวลากลางคืน "กบหัวใหญ่โคราช"เป็น สัตว์ที่ชอบน้ำและไม่ค่อยปรับตัวตามสภาพแวดล้อมดังนั้นจึงมักอาศัยและดำรง ชีวิตอยู่ใกล้แหล่งน้ำตลอดเวลาเช่นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังตลอดปีเพราะ หากอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งอาจตายและสูญพันธุ์ได้ในที่สุด ซึ่งในโลก นี้สามารถพบ"กบหัวใหญ่โคราช"ได้เพียงเฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้นคือในพื้นที่ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช บริเวณลำห้วยบนภูเขาสูง

อย่างไรก็ตาม ยังมีรายงานว่า ได้มีการค้นพบ"กบหัวใหญ่โคราช" เพิ่มเติมภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติปางสี ดาจังหวัดสระแก้วและอุทยานแห่งชาติภูหลวง จังหวัดเลย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น