10 มิถุนายน 2552

เมื่อพระอาทิตย์ลาลับฟ้า

ในการถ่ายภาพท้องฟ้า ในช่วงพระอาทิตย์ตกดินนั้น สำคัญที่แสงสีที่จะปรากฏอยู่ในภาพ สีของท้องฟ้าจะออกมาเป็นส้ม, ฟ้า, แดง ฯลฯ ได้หรือไม่นั้น สำคัญอยู่ที่การวัดแสงและ การปรับตั้งกล้องของคุณ หากคุณวัดแสงไม่ถูกตำแหน่ง ภาพที่ได้อาจจะสว่างหรือมืดเกินไป คุณจึงควรหมั่นทดลองและฝึกบ่อยๆ

เมื่อคุณได้จังหวะ และสถานทีี่่ทีเหมาะสมแล้ว ให้คุณปรับระบบวัดแสงเป็นแบบเฉพาะจุด หรือ Spot Metering (ดูจากคู่มือกล้องของคุณเรื่องระบบวัดแสง) วางจุดวัดแสงที่ท้องฟ้าบริเวณข้างๆ พระอาทิตย์ซึ่งจะเป็นจุดที่มีปริมาณแสงพอเหมาะ สำหรับการวัดแสงของกล้อง ภาพจะไม่มืดหรือสว่างเกินไป

ใช้รูรับแสงแคบๆ ประมาณ f/16 หากมีพระอาทิตย์อยู่ในภาพด้วย หรือ f/8-11 หากพระอาทิตย์ถูกบังด้วยสิ่งอื่น (เช่นอยู่หลังเมฆ หรือหลังต้นไม้)

โหมด การถ่ายภาพชนิดปรับตั้งรูรับแสงเอง (Av) จะใช้การได้ดีและสะดวกสำหรับภาพลักษณะนี้ เมื่อวัดแสงแล้ว ให้คุณล็อคค่าความจำแสง (โดยใช้ปุ่ม AE Lock) แล้วจัดองค์ประกอบภาพใหม่ อย่าใช้โหมดอัตโนมัติทั้งหลาย (เช่น Landscape หรือ Full Auto) เพราะคุณจะไม่สามารถใช้ระบบการวัดแสงเฉพาะจุด, การล็อคค่าความจำแสง หรือการปรับตั้งอื่นๆ ได้

คุณสามารถชดเชยแสง +/- ได้อีกตามที่คุณต้องการ หากภาพที่ได้ แสงยังไม่พอดีตามที่คุณอยากจะให้มันเป็น บางทีอาจจะเป็นเพราะคุณยังวางตำแหน่งวัดแสงไม่ถูกจุด จำเอาไว้ว่าถ้าคุณวัดแสงตรงที่สว่างภาพที่ได้จะมืด ตรงกันข้ามหากวัดแสงตรงที่มืดภาพก็จะสว่าง ตำแหน่งวัดแสงจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

ข้อควรระวัง**: ไม่ควรใช้ตาของคุณมองเข้าไปในดวงอาทิตย์โดยตรงเด็ดขาด เพราะเลนส์จะทำหน้าที่รวมแสงเข้าหาดวงตาของคุณอย่างเข้มข้น อย่างน้อยๆ อาจทำให้คุณรู้สึกปวดตา, ปวดหัว อย่างร้ายแรงก็อาจทำให้ดวงตาของคุณเสียไปเลยก็ได้ แล้วทีนี้จะถ่ายภาพอย่างไรกันล่ะ?


ขอบคุณเทคนิคถายภาพจาก : tsdmag.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น